กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน หมู่ที่๑๓ ตำบลโคกสักอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน หมู่ที่๑๓ ตำบลโคกสักอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3330-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มิถุนายน 2560 - 23 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นส
พี่เลี้ยงโครงการ นางจุฑามาศ รัตนอุบล
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.39,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใดส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ซึ่งมีเขตรับผิดชอบ จำนวน 3 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 4 บ้านต้นสนหมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะ และหมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน ซึ่งทั้ง 3 หมู่บ้านประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการทำเกษตรมากถึงร้อยละ80ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพาราทำสวนผลไม้และปลูกผักผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง จากการจัดทำโครงการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ปี 2559 พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 63.67 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 44 – 56 ปี ร้อยละ 35.33 งานอาชีพหลักส่วนใหญ่คือเพาะปลูก(ทำเอง)ร้อยละ 78.67 เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่มีการฉีดพ่นหรือสัมผัสที่ฉีดพ่น ร้อยละ 51.33และสรุปผลการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสาเคมีกำจัดศัตรูพืชพบว่าเกษตรการมีระดับความเสี่ยงต่ำร้อยละ 47.33 มีความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงค่อนข้างสูง ร้อยละ23.00และมีความเสี่ยงสูงร้อยละ 6.67 (ผู้เข้ารับการเจาะเลือดจำนวน 300 คน)
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรมีระดับความเสี่ยงปานกลาง ค่อนข้างสูงและมีความเสี่ยงสูงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงส่งผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยงจาก การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

มีการประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

2 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

มีการค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการเจาะเลือดซ้ำ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติและการดำเนินงานตามโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ ในการตรวจ
  3. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
  4. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย
  5. ดูแล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูก /บริโภคผักปลอดสารพิษ
  6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน
  7. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2560 10:23 น.