กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยซึ่งเกิดตามการเปลี่ยนแปลงของวัยที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการปวดเข่าเกิด จากหลายสาเหตุ เช่น จากการทำงาน มีการบาดเจ็บที่เข่า ข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักตัวมากเกินไป อายุที่เพิ่มขึ้นตามสภาพของร่างกาย เป็นต้น ปวดเข่ามักจะเป็นสาเหตุของอาการปวดที่พบได้มากในกลุ่มของผู้สูงอายุและอาจจะมีในกลุ่มของประชาชนทั่วไป โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยการใช้สมุนไพรไทยในการรักษาและลดอาการข้อเข่าเสื่อม 2.) เพื่อลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยยาแผนปัจจุบัน ผลการดำเนินงาน พบว่า


กิจกรรมตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 40-60 ปี

ตัวชี้วัดกิจกรรม ประชาชนที่มีอายุ 40-60 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 10 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 100 โดยใช้แบบประเมินระดับคะแนนการปวด ผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้นพบว่า ระดับคะแนนการปวดจำนวนมากที่สุด ระดับ 4-5 คิดเป็นร้อยละ 56.00 รองลงมาระดับระดับ 6-7 คิดเป็นร้อยละ 44.00 ตามลำดับ และช่วงอายุที่มีอาการปวดมากที่สุด 41-50 ปี จำนวน 19 คน รองลงมา 51-60 ปี จำนวน 15 คน และช่วงอายุ 30-40 ปี จำนวน 9 คน


กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อและกระดูกและการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้น

การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมทั้งสอน/สาธิตขั้นตอนการทำลูกประคบสมุนไพร น้ำมันไพรและ ยาฟอกเข่า พร้อมทั้งสอนวิธีการนวด ท่าการบริหารร่างกาย กลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมประชาชนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 50 คน ตัวชี้วัดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวโรคข้อและกระดูก ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการดำเนินกิจกรรมประเมินผลก่อนการอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้ร้อยละ 70 และหลังการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 88 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจ และความสำคัญในการจัดกิจกรรม


กิจกรรมส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในชุมชน

ตัวชี้วัดกิจกรรมประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้จัดทำโครงการรณรงค์ให้ครัวเรือนในชุมชนปลูกสมุนไพรต่างๆ ทั้งที่ใช้เป็นยารักษาโรคเบื้องต้นและประกอบอาหาร เพราะสมุนไพรบางชนิดมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ประชาชนส่วนหนึ่งบางครัวเรือนก็ปลูกสมุนไพรกันอยู่แล้ว ร้อยละ 20 หลังจากมีการรณรงค์ให้ครัวเรือนปลูกพืชสมุนไพร พบว่าครัวเรือนปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 และจากการสอบถามเหตุผลในการปลูกสมุนไพร ส่วนใหญ่นำมาประกอบอาหาร เพราะเห็นว่าสมุนไพรบางชนิดมีสรรพคุณในการรักษาโรค ถ้ารับประทานน่าจะส่งผลที่ดีกับร่างกาย


กิจกรรมติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย

จากเดิมกลุ่มเป้าหมายมีระดับคะแนนการปวด 4-5 จำนวน 28 คนและระดับคะแนนการปวด 6-7 จำนวน 22 คน ได้ติดตามผลครั้งที่ 1 กลุ่มเป้าหมายยังคงมีอาการเหมือนเดิม ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 กลุ่มเป้าหมายมีอาการปวดลดลงจากระดับการปวด 6-7 ลดลงมาระดับการปวด 4-5 และ 1-3 จากการสอบถามอาการเบื้องต้นบางรายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เช่น ออกกำลังกาย เพื่อให้อาการปวดเมื่อยลดลงมาบาง เลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ส่วนการประกอบอาชีพในบางรายไม่สามารถที่จะหยุดทำงานได้ เมื่อมีการปวดก็กินยาหรือประคบสมุนไพรเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าอาการปวดของกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ลดลงตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ เนื่องจากบางคนต้องประกอบอาชีพ อายุที่เพิ่มขึ้น และอาการปวดเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาถึงได้หายได้

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. ผู้จัดทำโครงการขาดการวางแผนการดำเนินกิจกรรม ทำให้การดำเนินกิจกรรมล่าช้า ไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนด

  2. อาการปวดเข่าต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา ซึ่งการดำเนินโครงการไม่ได้เป็นไปตามตัวชี้วัด เนื่องจากระยะเวลาในการติดตามกลุ่มเป้าหมายจำนวนน้อยเกินไป

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ