กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 40-60 ปี

ดำเนินการตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 40-60 ปี โดยคัดกรองอาการโดยใช้แบบประเมินระดับคะแนนการปวด 5 ระดับ ได้แก่

ระดับ 0  หมายถึง ไม่มีอาการปวดเลย
ระดับ 1 – 3 หมายถึง มีอาการปวดเล็กน้อยไม่มีความกังกล ไม่มีความทุกข์ทรมานแต่อย่างใด
ระดับ 4 – 5 หมายถึง มีอาการปวดปานกลาง ความรู้สึกทรมานจากอาการปวดพอสมควร แต่ยัง สามารถทนได้
ระดับ 6 – 7 หมายถึง มีอาการปวดมาก มีความกังวล พักผ่อนได้ไม่เพียงพอ เริ่มทีความรู้สึกว่าไม่สามารถทนได้
ระดับ 8 – 9 หมายถึง มีอาการปวดรุนแรงรู้สึกทรมานจาการอาการปวดมากไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้
ระดับ 10  หมายถึง มีอาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถทนได้


คัดเลือกกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่มีอาการปวดเข่า ที่มีระดับคะแนนการปวด 4 – 10 คะแนน นำร่องจำนวน 50 คน ผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้นพบว่า ระดับคะแนนการปวดจำนวนมากที่สุด ระดับ 4-5 คิดเป็นร้อยละ 56.00 รองลงมาระดับระดับ 6-7 คิดเป็นร้อยละ 44.00 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1 และช่วงอายุที่มีอาการปวดมากที่สุด 41-50 ปี จำนวน 19 คน รองลงมา 51-60 ปี จำนวน 15 คน และช่วงอายุ 30-40 ปี จำนวน 9 คน ดังตารางที่ 2


ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของระดับคะแนนการปวด จำนวน 50 คน
ระดับคะแนนการปวด 4 - 5 คะแนน จำนวน 28 ร้อยละ 56.00

ระดับคะแนนการปวด 6 - 7 คะแนน จำนวน 22 ร้อยละ 44.00

ระดับคะแนนการปวด 8  คะแนน จำนวน - ร้อยละ -

ระดับคะแนนการปวด 9  คะแนน จำนวน - ร้อยละ -

ระดับคะแนนการปวด 10 คะแนน จำนวน - ร้อยละ -


ตารางที่ 2 จำนวนช่วงอายุที่ตรวจคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 50 คน

ช่วงอายุ 30-40 ปี จำนวน 9 คน

ช่วงอายุ 41-50 ปี จำนวน 19 คน

ช่วงอายุ 51-60 ปี จำนวน 15 คน

ช่วงอายุ 61-70 ปี จำนวน 4 คน


จากตารางข้างต้น ระดับคะแนนการปวดมากที่สุดระดับ 4-5 มีอาการปวดปานกลาง ความรู้สึกทรมานจากอาการปวดพอสมควร แต่ยังสามารถทนได้ จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00 อาการปวดเหล่านี้ ส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วง 41-60 ปี ซึ่งอาการของแต่ละคนระดับการปวดก็มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการประกอบอาชีพ อายุ เมื่ออายุมากขึ้นก็ส่งผลกับการปวดที่เพิ่มขึ้น บางคนก็ไม่ได้เข้าถึงการรักษาเท่าที่ควร แค่บรรเทาอาการปวดเบื้องต้น รวมทั้งน้ำหนักตัวก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่ออาการปวดเข่า


กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อและกระดูกและการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้น

การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมทั้งสอน/สาธิตขั้นตอนการทำลูกประคบสมุนไพร น้ำมันไพรและยาฟอกเข่า พร้อมทั้งสอนวิธีการนวด ท่าการบริหารร่างกาย กลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมประชาชนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 50 คน ตัวชี้วัดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวโรคข้อและกระดูก ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการดำเนินกิจกรรมประเมินผลก่อนการอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้ร้อยละ 70 และหลังการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 88 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจ และความสำคัญในการจัดกิจกรรม


กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในชุมชน

ตัวชี้วัดกิจกรรมประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้จัดทำโครงการรณรงค์ให้ครัวเรือนในชุมชนปลูกสมุนไพรต่างๆ ทั้งที่ใช้เป็นยารักษาโรคเบื้องต้นและประกอบอาหาร เพราะสมุนไพรบางชนิดมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ประชาชนส่วนหนึ่งบางครัวเรือนก็ปลูกสมุนไพรกันอยู่แล้ว ร้อยละ 20 หลังจากมีการรณรงค์ให้ครัวเรือนปลูกพืชสมุนไพร พบว่าครัวเรือนปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 และจากการสอบถามเหตุผลในการปลูกสมุนไพร ส่วนใหญ่นำมาประกอบอาหาร เพราะเห็นว่าสมุนไพรบางชนิดมีสรรพคุณในการรักษาโรค ถ้ารับประทานน่าจะส่งผลที่ดีกับร่างกาย


กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย การติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน ติดตามเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง ประเมินโดยใช้แบบประเมินระดับคะแนนการปวด ผลการติดตามจำนวน 3 ครั้ง พบว่าจากเดิมกลุ่มเป้าหมายมีระดับคะแนนการปวด 4-5 จำนวน 28 คนและระดับคะแนนการปวด 6-7 จำนวน 22 คน ได้ติดตามผลครั้งที่ 1 กลุ่มเป้าหมายยังคงมีอาการเหมือนเดิม ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 กลุ่มเป้าหมายมีอาการปวดลดลงจากระดับการปวด 6-7 ลดลงมาระดับการปวด 4-5 และ 1-3 จากการสอบถามอาการเบื้องต้นบางรายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เช่น ออกกำลังกาย เพื่อให้อาการปวดเมื่อยลดลงมาบาง เลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ส่วนการประกอบอาชีพในบางรายไม่สามารถที่จะหยุดทำงานได้ เมื่อมีการปวดก็กินยาหรือประคบสมุนไพรเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าอาการปวดของกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ลดลงตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ เนื่องจากบางคนต้องประกอบอาชีพ อายุที่เพิ่มขึ้น และอาการปวดเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาถึงได้หายได้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยการใช้สมุนไพรไทยในการรักษาและลดอาการข้อเข่าเสื่อม
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนที่มีอายุ 40-60 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 10 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 100 2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวโรคข้อและกระดูก 3. กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 มีอัตราการปวดเข่าลดลง 4. กลุ่มเป้าหมายที่มีอาการปวดรุนแรง ได้รับการส่งต่อและรักษาทุกราย
0.00 80.00

 

2 เพื่อลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยยาแผนปัจจุบัน
ตัวชี้วัด : 1. ปริมาณการใช้ยาแผนปัจจุบันลดลง 2. ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์
0.00 60.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
คณะทำงาน 10 10

บทคัดย่อ*

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยซึ่งเกิดตามการเปลี่ยนแปลงของวัยที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการปวดเข่าเกิด จากหลายสาเหตุ เช่น จากการทำงาน มีการบาดเจ็บที่เข่า ข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม น้ำหนักตัวมากเกินไป อายุที่เพิ่มขึ้นตามสภาพของร่างกาย เป็นต้น ปวดเข่ามักจะเป็นสาเหตุของอาการปวดที่พบได้มากในกลุ่มของผู้สูงอายุและอาจจะมีในกลุ่มของประชาชนทั่วไป โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยการใช้สมุนไพรไทยในการรักษาและลดอาการข้อเข่าเสื่อม 2.) เพื่อลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยยาแผนปัจจุบัน ผลการดำเนินงาน พบว่า


กิจกรรมตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง 40-60 ปี

ตัวชี้วัดกิจกรรม ประชาชนที่มีอายุ 40-60 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 10 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 100 โดยใช้แบบประเมินระดับคะแนนการปวด ผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้นพบว่า ระดับคะแนนการปวดจำนวนมากที่สุด ระดับ 4-5 คิดเป็นร้อยละ 56.00 รองลงมาระดับระดับ 6-7 คิดเป็นร้อยละ 44.00 ตามลำดับ และช่วงอายุที่มีอาการปวดมากที่สุด 41-50 ปี จำนวน 19 คน รองลงมา 51-60 ปี จำนวน 15 คน และช่วงอายุ 30-40 ปี จำนวน 9 คน


กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อและกระดูกและการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคเบื้องต้น

การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมทั้งสอน/สาธิตขั้นตอนการทำลูกประคบสมุนไพร น้ำมันไพรและ ยาฟอกเข่า พร้อมทั้งสอนวิธีการนวด ท่าการบริหารร่างกาย กลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมประชาชนกลุ่มเสี่ยงจำนวน 50 คน ตัวชี้วัดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวโรคข้อและกระดูก ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการดำเนินกิจกรรมประเมินผลก่อนการอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้ร้อยละ 70 และหลังการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 88 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจ และความสำคัญในการจัดกิจกรรม


กิจกรรมส่งเสริมการปลูกสมุนไพรในชุมชน

ตัวชี้วัดกิจกรรมประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 นำพืชสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้จัดทำโครงการรณรงค์ให้ครัวเรือนในชุมชนปลูกสมุนไพรต่างๆ ทั้งที่ใช้เป็นยารักษาโรคเบื้องต้นและประกอบอาหาร เพราะสมุนไพรบางชนิดมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ประชาชนส่วนหนึ่งบางครัวเรือนก็ปลูกสมุนไพรกันอยู่แล้ว ร้อยละ 20 หลังจากมีการรณรงค์ให้ครัวเรือนปลูกพืชสมุนไพร พบว่าครัวเรือนปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 และจากการสอบถามเหตุผลในการปลูกสมุนไพร ส่วนใหญ่นำมาประกอบอาหาร เพราะเห็นว่าสมุนไพรบางชนิดมีสรรพคุณในการรักษาโรค ถ้ารับประทานน่าจะส่งผลที่ดีกับร่างกาย


กิจกรรมติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย

จากเดิมกลุ่มเป้าหมายมีระดับคะแนนการปวด 4-5 จำนวน 28 คนและระดับคะแนนการปวด 6-7 จำนวน 22 คน ได้ติดตามผลครั้งที่ 1 กลุ่มเป้าหมายยังคงมีอาการเหมือนเดิม ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 กลุ่มเป้าหมายมีอาการปวดลดลงจากระดับการปวด 6-7 ลดลงมาระดับการปวด 4-5 และ 1-3 จากการสอบถามอาการเบื้องต้นบางรายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง เช่น ออกกำลังกาย เพื่อให้อาการปวดเมื่อยลดลงมาบาง เลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ส่วนการประกอบอาชีพในบางรายไม่สามารถที่จะหยุดทำงานได้ เมื่อมีการปวดก็กินยาหรือประคบสมุนไพรเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าอาการปวดของกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ลดลงตามตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ เนื่องจากบางคนต้องประกอบอาชีพ อายุที่เพิ่มขึ้น และอาการปวดเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาถึงได้หายได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh