กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L1487-5-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ
วันที่อนุมัติ 14 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 99,955.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเด่นทยา วุ่นแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.236,99.673place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้
ประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศ “โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙” หรือ “โรคโควิด-๑๙” เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มี.ค.๒๕๖๓ ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชน สถานการณ์ในประเทศไทยปัจจุบัน ณ วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๓ ขณะนี้พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จำนวน ๒,๒๒๐ ราย รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน ๘๒๔ ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต ๒๖ ราย
    เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับโรค โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชยในพื้นที่สามารถเข้าถึงมาตรการต่างๆ และการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เช่นการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะขณะที่มีการระบาดโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงควรเห็นว่ามีการบูรณาการร่วมมือจากทุภาคส่วนในการเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ และการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลและป้องกันตนเองให้แก่ประชาชนในพื้นที่     ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

100.00
2 เพื่อส่งเสริมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยตนเอง

การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยตนเอง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 99,995.00 1 99,412.00
14 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 99,995.00 99,412.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน   -ร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ   -แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
    • ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสุโสะ 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน   -การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)   -ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ   -จัดทีมที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ   -สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดความตื่นตระหนก สร้างความตระหนักและความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาของประชาชน 2.มีทีมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ 3.มีอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ สำหรับบริการประชนที่ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2563 13:32 น.