กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค 25 ก.พ. 2563 11 ก.ย. 2563

 

3.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.2 จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก
3.3 นักเรียนที่มีปัญหาโภชนาการเกินและต่ำ แจ้งผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้องโดยวิธีการมีส่วนร่วมโดยสหวิชาชีพ
3.4 ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตามพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน

 

นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 84.50 นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการ ร้อยละ 100

 

ส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก 25 ก.พ. 2563 24 ก.ย. 2563

 

4.1 ตรวจคัดกรองสุขภาพฟันและช่องปากของนักเรียน
4.2 รณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
4.3 ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม สุขภาพปากและช่องฟันของนักเรียน เดือนละ 1 ครั้ง

 

จากการบันทึกผลการติดตามหลังเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก พบว่า นักเรียนแปลงฟันหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ 100

 

สร้างองค์ความรู้เรื่อง “สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา 1 มี.ค. 2563 16 ก.ค. 2563

 

1.1 จัดกิจกรรมในการอบรม ให้ความรู้แก่นักเรียน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง ระดับอนุบาล และระดับประถม-มัธยม
- เรื่องสุขวิทยา เช่น ร่างกาย ผิวหนัง ผม เล็บ เป็นต้น
- เรื่องการดูแลรักษาความสะอาดบนศีรษะ การกำจัดเหา
- เรื่องภาวะโภชนาการสำหรับเด็ก คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิด
- เรื่องการดูแลสุขภาพในช่องปากและฟัน
- เรื่องการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ได้ง่ายๆโดยการออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่อง
1.2 วัดและประเมินผลจากการทำแบบทดสอบ โดยคิดเป็นร้อยละ

 

ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 58.64 หลังได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.06

 

เหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร 1 มิ.ย. 2563 14 ส.ค. 2563

 

2.1 รณรงค์ให้นักเรียนกำจัดเหา สัปดาห์ละ 1 วัน
2.2 สอน/สาธิตการทำแชมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร
2.3 ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม พฤติกรรมการทำความสะอาดของเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งนักเรียนปลอดเหา

 

จากการสำรวจนักเรียนก่อนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนเป็นโรคเหาร้อยละ 33.69 หลังจากนักเรียนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนปลอดเหา ร้อยละ 83.91

 

เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ 1 ก.ค. 2563 18 ก.ย. 2563

 

5.1 รณรงค์การออกกำลังกาย สู่ชุมชนบ้านท่าแลหลา เพื่อให้คนในชุมชนหันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย โดยจะจัดกิจกรรม เดิน วิ่ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันพุธ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 – 16.00 น. จำนวน 12 สัปดาห์ เส้นทางจากโรงเรียนบ้านท่าแลหลา และหมู่บ้านใกล้เคียง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 84 คน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียนคนในชุมชนบ้านท่าแลหลาและคนในชุมชนใกล้เคียง ซึ่งรวมแล้วจำนวน 150 คน
5.2 จัดกิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ผู้ปกครองนักเรียน คนในชุมชนบ้านท่าแลหลา และคนในชุมชนใกล้เคียง มีเจตคติในการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายของตนเองมีสุขภาพที่ดี

 

จากการสำรวจความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม พบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ 96.66 และอยากให้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

 

รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ก.พ. 2564 28 ก.ย. 2563

 

6.1 รายงานผล นำเสนอโครงการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
6.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อย่างน้อย 2 เล่ม

 

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์