กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมสร้างองค์ความรู้เรื่อง "สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา" ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยได้แก่ กิจกรรมย่อยที่ ๑ จัดกิจกรรมในการอบรม ให้ความรู้แก่นักเรียน ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ช่วง ระดับชั้นอนุบาลและระดับชั้นประถมถึงชั้นมัธยม โดยทางโรงเรียนได้เชิญนางสาวเฉลิม ผิวดำ ท่านเป็นวิทยากรมาจาก โรงพยาบาลละงู สาขาแพทย์แผนไทยชำนาญการ มีความสามารในการถ่ายทอดความรู้เรื่องสุขวิทยา การดูแลรักษาความสะอาดบนศีรษะ ภาวะโภชนาการสำหรับเด็ก การดูแลสุขภาพในช่องปากและฟัน และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมประกอบไปด้วยนักเรียนจำนวน ๑๔๓ คน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าในใจสุขวิทยา ภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปากและฟัน และการออกกำลังกาย จากการประเมินผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ ๕๘.๖๔ หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่าผู้เข้าอบรมมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๕.๐๖
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมเหาหาย สบายหัวด้วยสมุนไพร เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านสุขวิทยา เช่น ร่างกาย เล็บ โดยเฉพาะเรื่องเหา ทั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้นักเรียนได้ดูแลตนเองโดยการกำจัดเหาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และมีกิจกรรมสาธิตการทำแชมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร โดยนักเรียนได้ร่วมลงมือทำแชมพูสมุนไพรด้วยตนเอง เพื่อนำไปใช้ในการกำจัดเหา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๖๒ คน จากการสำรวจนักเรียนก่อนได้รับการรักษโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนเป็นโรคเหร้อยละ ๓๓.๒๙ หลังจากนักเรียนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนปลอดเหา ร้อยละ ๘๓.๙๑
กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโรค ประกอบไปด้วยการดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนทุกระดับชั้น การจัดทำคู่มืออาหารแต่ละชนิด และนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินและต่ำมีการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านทุพ โภชนาการ พฤติกรรมการบริโภค มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๘๔ คน จากการสังเกตนักเรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่านักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕o นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการ ร้อยละ ๑๐๐
กิจกรรมที่ ๔ ส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก ประกอบไปด้วยการคัดกรองสุขภาพปากและช่องฟัน รณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน โดยมีการดูแล ติดตามสุขภาพช่องปากและฟัน ของนักเรียนเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านสุขภาพช่องปากและฟัน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๘๔ คน จากการบันทึกผลการติดตามหลังหลังเข้าร่วมกิจกรรมพบว่า นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมปลูกฝังให้นักเรียน ผู้ปกครองและครู มีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย จึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวน ผู้ปกครองและคนในชุมชนบ้านท่าแลหลาให้เข้าร่วมออกกำลังกายผ่านกิจกรรมเดิน วิ่ง สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ในทุกเย็นวันพุธ เวลา ๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น. ซึ่งเส้นทางในการ เดิน วิ่ง ออกชุมชนบ้านท่แลหลา มุ่งหน้าสู่ชุมชนบ้านอุไร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบไปด้วยนักเรียน คณะครู และผู้ปกครองนักเรียนบางส่วนให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรม ทั้งนี้เมื่อประเมินภาพรวมจะเห็นว่านักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมกิจกรรม สร้างบรรยากาศของการออกกำลังกายร่วมกัน และจากการสำรวจความพึงพอใจในกิจกรรมพบว่า นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน ให้ความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมร้อยละ ๙๖.๖๖ และให้จัดกิจกรรมแบบนี้อย่างต่อเนื่อง

ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด
กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมกิจกรรมสร้างองค์ความรู้เรื่อง "สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา" จากการประเมินผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการอบรม ก่อน-หลัง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ ๕๘.๖๔ หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๕.๐๖
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมอบรมเหาหาย สบายหัวด้วยสมุนไพร จากการสำรวจนักเรียนก่อนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนเป็นโรคเหาร้อยละ ๓๓.๖๙ หลังจากนักเรียนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนปลอดเหา ร้อยละ ๘๓.๙๑
กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโรค จากการสังเกตนักเรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่านักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕- นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการ ร้อยละ ๑๐๐
กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก จากการบันทึกผลการติดตามหลังเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก พบว่า นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ จากการสำรวจความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมพบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ ๙๖.๖๖ และอยากให้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขวิทยา ภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการออกกำลังกาย
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขวิทยา ภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการออกกำลังกาย
0.00 95.06

 

2 เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพกายและส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด : - นักเรียน ร้อยละ 70 ที่เป็นเหาสามารถรักษา ลดการแพร่สู่ผู้อื่น และการกลับมาติดเหาอีกครั้ง
0.00 83.91

 

3 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน
ตัวชี้วัด : - นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการร้อยละ 100 - นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
0.00 100.00

 

4 เพื่อแก้ไขและส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
ตัวชี้วัด : - นักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากและฟันร้อยละ 100 - นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ร้อยละ 100 - ร้อยละ 60 ของนักเรียนที่ฟันผุมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น กรณีพบฟันผุได้รับการรักษาต่อทุกราย
0.00 100.00

 

5 เพื่อแก้ไข ส่งเสริม และสนับสนุนการออกกำลังกายของนักเรียน และส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันของนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : - ครูและนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรม เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 - ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคนในชุมชน ร้อยละ 70 ร่วมกันเล่นกีฬาเป็นประจำ สม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง - นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความพึงพอใจต่อโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00 96.66

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 380 380
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 41 41
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 143 143
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ครู 19 19
ผู้ปกครอง 177 177

บทคัดย่อ*

โครงการนักเรียนท่าแลหลาปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขวิทยา ภาวะโภชนาการ สุขภาพช่องปากและฟัน การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต เป็นต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน จำนวนทั้งหมด ๑๔๓ คน ซึ่งได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพดี อยู่ที่เรา อีกทั้งยังมีรณรงค์ให้นักเรียนกำจัดเหาและยังสาธิตการทำแชมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน จำนวน ๖๒ คน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพด้านสุขวิทยาของนักเรียน มีการส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง จัดทำคู่มืออาหารที่มีคุณประโยชน์ ดำเนินการแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาโภชนาการเกินและต่ำ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านทุพโภชนาการ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน จำนวน ๑๘๔ คน อีกทั่งมีการส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปากโดยมีการคัดกรองสุขภาพปากและช่องฟัน รณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหาร มีการดูแล ติดตามสุขภาพปากและช่องฟันของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายนักเรียน จำนวน ๑๘๔ คน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านสุขภาพช่องปากและฟัน และสุดท้ายมีการจัดกิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ โดยมีการเชิญชวนผู้ปกครองและคนในชุมชนให้มาร่วมออกกำลังกาย โดยจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ทุกเย็นวันพุธ กลุ่มเป้าหมายนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน จำนวน ๑๘๐ คน เพื่อแก้ปัญหสุขภาพของนักเรียนด้านการออกกำลังกาย ในกิจกรรมดังที่กล่าวมา งบประมาณในการดำเนินโครงการได้รับการจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน ๕๙,๓๐๑ บาท โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อยดังนี้ กิจกรรมที่ ๑ สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา งบประมาณ ๑๔,๒๘๕ บาท กิจกรรมที่ ๒ เหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร งบประมาณ ๔,๑๘๑ บาท กิจกรรมที่ ๓ ส่งเสริม สุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค งบประมาณ ๖,๖๔๕ บาท กิจกรรมที่ ๔ ส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องป่าก งบประมาณ ๑๖,๕๔๐ บาท กิจกรรมที่ ๕ เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ งบประมาณ ๑๒,๖๕ㅇ บาท และกิจกรรมที่ ๖ รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งบประมาณ ๑,๐๐๐ บาท
ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ ประเมินผลจากการทดสอบวัดความรู้ก่อนการอบรม Pre-test และหลังการอบรม Post- test ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเรื่อง สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา พบว่าก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความรู้ร้อยละ ๕๘.๖๔ หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่าผู้เข้ารับการ อบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๕.๐๖ กิจกรรมเหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร พบว่าหลังจากได้รับการติดตามโดยการสังเกตพฤติกรรม นักเรียนร้อยละ ๗๕ ที่สามารถรักษาโรคเหาหายและลดการแพร่กระจายต่อผู้อื่น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จากการสังเกตพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนทุกคน พบว่านักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕๐ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และกิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ จากการสำรวจความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมพบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ ๙๖.๖๖ และอยากให้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh