โครงการเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวันตามรอยพ่ออย่างพอเพียง
ชื่อโครงการ | โครงการเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวันตามรอยพ่ออย่างพอเพียง |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าประดู่ |
วันที่อนุมัติ | 24 กุมภาพันธ์ 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 56,515.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางรัชนุ สุวรรณรัตน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.681,100.73place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 37 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามที่ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในโยบายให้ดำเนินการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน เพื่อให้บริการนักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันอย่างเพียงพอ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการ อันจะช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค และเมื่อนักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ย่อมส่งผลให้มีการพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญาดีขึ้นด้วย นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เต็มศักยภาพ นอกจากจะพบปัญหาด้านโภชนาการในกลุ่มเด็กและเยาวชนแล้ว ยังพบว่าปัญหาด้านความปลอดภัยในอาหารถือเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการตรวจพบสารพิษตกค้างในพืชผักที่ใช้ในการประกอบอาหารที่ส่งผลในระยะยาวต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน อันเนื่องมาจากการขาดการดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าประดู่ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการอาหารกลางวัน โดยให้ความสำคัญกับวัตถุดิบที่จะนำมาประกอบอาหารกลางวันที่ปลอดจากสารพิษ เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และสนองตอบนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ทำโครงการเกษตรปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวัน โดยมุ้งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ทำการเกษตรแบบอินทรีย์ รู้จักการทำนา ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ไข่ และเลี้ยงปลา เป็นต้น เป็นการสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร เพิ่มผักในเมนูอาหาร ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของผู้เรียน ลดภาวการณ์ขาดสารอาหารและภาวะโภชนาการที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทั้งยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนและชุมชน ขยายต่อความรู้ด้านการจัดการอาหารปลอดภัยนำกลับไปทำที่บ้าน เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารภายในครัวเรือน ขยายต่อเป็นอาชีพ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนให้เกิดขึ้นภายในครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีภาวะโภชนาการดีอยู่ในเกณฑ์ปกติ 2. นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านการเกษตรพื้นฐาน รู้จักพืชผักต่างๆ 3. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน 4 นักเรียนมีอาหาร พืชผักปลอดสารพิษสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน 4 นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2563 14:10 น.