กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังเพื่อสังเกตการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในศูนย์กักกันโรค (Local Quarantine) กรณีประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ตำบลปากบาง อำเภอเทพา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังเพื่อสังเกตการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในศูนย์กักกันโรค (Local Quarantine) กรณีประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ตำบลปากบาง อำเภอเทพา
รหัสโครงการ 63-L5191-5-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 88,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอดิง หลีหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 เม.ย. 2563 31 พ.ค. 2563 88,200.00
รวมงบประมาณ 88,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 9 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) เป็นการจำกัดกิจกรรมของบุคคลที่มีสุขภาพดี เนื่องจาก สัมผัส (Expose) กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อระหว่างช่วงที่แพร่เชื้อ (Period of communicability) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อถ้าบุคคลที่มีสุขภาพดีติดเชื้อ อย่างไรก็ดี ระยะเวลาเฝ้าสังเกตอาการจะไม่นานเกินกว่าระยะฟักตัวที่ยาวที่สุดของเชื้อก่อโรค ซึ่งในกรณีของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีระยะฟักตัวของโรคนาน 2 - 14 วัน ดังนั้น จึงแยกตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออันตราย และการแยกกักเพื่อสังเกตอาการเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34 และ 35 ซึ่งให้อำนาจเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจที่จะดำเนินการ ประกาศ หรือออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ผู้ใดดำเนินการ ที่สำคัญดังนี้
1. ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด หรือผู้ที่เป็นผู้สัมผัสโรค หรือเป็นพาหะ มารับการตรวจหรือรักษา หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์และเพื่อความปลอดภัย
2. อาจดำเนินการโดยการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ กำหนด จนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางการแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัย
3. สั่งให้ผู้ที่เป็น หรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดหยุดการประกอบอาชีพ เป็นการชั่วคราว
4. สั่งห้ามผู้ที่เป็น หรือ มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเข้าไปในสถานที่ชุมนุม ชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดทำแนวทางการจัดตั้งพื้นที่กักกัน (Quarantine area) ขึ้นเพื่อให้ หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งในสังกัดและนอกสังกัด ได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการด้วยความเหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดูแลและควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการ ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย

สามารถดูแลและควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการ ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย

9.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยมีหลักการในการแยกประเภทเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และแนะนำการกักกัน/แยกกัก

สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยมีหลักการในการแยกประเภทเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และแนะนำการกักกัน/แยกกัก

9.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 28 99,600.00 0 0.00
21 เม.ย. 63 - 31 พ.ค. 63 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกักกันประชาชนที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง 9 88,200.00 -
21 เม.ย. 63 - 19 พ.ค. 63 การรักษาความปลอดภัย 19 11,400.00 -
  1. วางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
  2. ประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงลงทะเบียนการเข้าพัก ณ จุดประสานงาน
  3. เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
  4. ประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงเข้าที่พักใช้ชีวิตตามระเบียบปฏิบัติ ตรวจวัดไข้ อาการป่วยรายวัน
  5. ประชาชนที่เข้าข่ายส่งต่อไปยังโรงพยาบาล ถ้าไม่เข้าข่ายให้เฝ้าระวังอาการรายวันครบ 14 วัน
  6. ประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังครบ 14 ลงทะเบียนออก เดินทางกลับบ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถดูแลและควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการ ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย
  2. สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยมีหลักการในการแยกประเภทเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และแนะนำการกักกัน/แยกกัก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2563 15:52 น.