โครงการ อสม. เคาะประตูบ้านด้าน COVID
ชื่อโครงการ | โครงการ อสม. เคาะประตูบ้านด้าน COVID |
รหัสโครงการ | 63-L5226-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลระโนด |
วันที่อนุมัติ | 15 เมษายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2563 - 30 มิถุนายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 34,640.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวณริณพิศพัฒน์ บุตรขันธ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | คลินิคเวชปฏิบัติครอบครัวโรงพยาบาลระโนด |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.754,100.325place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 27 เม.ย. 2563 | 27 เม.ย. 2563 | 1,540.00 | |||
2 | 4 พ.ค. 2563 | 29 พ.ค. 2563 | 33,100.00 | |||
รวมงบประมาณ | 34,640.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 400 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลก ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัส COVID-19 จะทำให้เกิดการไข้สูง จาม ไอ การอักเสบของปอดและเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการตายไม่ได้สูงมากนักเพียง 1-3% ร้ายแรงน้อยกว่า SAR ซึ่งมีอัตราการตาย 10% ด้วยปัจจุบันประเทศไทย มีประชาชนจำนวนมาก ที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูง จากการระบาดของโรคโควิด-19 ตามประกาษของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐบาลกำหนดให้มีมาตรการกักตัว อย่างต่ำเป็นระยะเวลา 14 วัน และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 สู่ชุมชน ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 นั้นถือว่าจำเป็น ด้วยการดำเนินมาตรการการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศหรือสถานที่มีคนพลุกพล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือจับหน้า ความรู้ และความเข้าใจการดำเนินไปของโรคเป็นสิ่งสำคัญ จากปัญหาของโรคในข้างต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลระโนด จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการ อสม. เคาะประตูบ้านต้านโควิด-19 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 สู่ชุมชน "อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน" หรือ "อสม." จึงเป็นกลไกสำคัญอย่างยิงที่จะต้องมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19
|
0.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรค COVID-19
|
0.00 | |
3 | ข้อที่ 3 เพื่อแจ้ง/กระจายข่าว/ช่องทางการรายงาน/เฝ้าระวังในพื้นที่
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 477 | 34,640.00 | 0 | 0.00 | 34,640.00 | |
27 เม.ย. 63 | ให้ความรู้ และทำความเข้าใจแกนนำ อสม. จำนวน 77 คน เข้าใจสถานการณ์โรค การป้องกันโรค การติดตามและรายงานกลุ่มเสี่ยง | 77 | 1,540.00 | - | - | ||
1 - 29 พ.ค. 63 | ลงพื้นที่ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และคัดกรองประชาชน | 400 | 33,100.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 477 | 34,640.00 | 0 | 0.00 | 34,640.00 |
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคระกรรมการชมรม เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการและกำหนดกิจกรรมดำเนินงาน 1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลระโนด 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการในชุมชน ประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ 2.1 จัดกิจกรรม อสม. เคาะประตูบ้านต้านโควิด มีการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 เบื้องต้น และแจกสื่อแนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับประชาชน ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1 ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคโควิด-19
- เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรค COVID-19
- เฝ้าระวัง และควบคุม/ป้องกันโรคในพื้นที่ได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2563 09:06 น.