กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก


“ โครงการสนับสนุนมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ”

สำนักงานเทศบาลตำบลนาทวีนอก หมู่ที่ 8 ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางปิยะนุช บูยูโส๊ะ

ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ที่อยู่ สำนักงานเทศบาลตำบลนาทวีนอก หมู่ที่ 8 ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L7892-5-...... เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสนับสนุนมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน สำนักงานเทศบาลตำบลนาทวีนอก หมู่ที่ 8 ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสนับสนุนมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสนับสนุนมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 " ดำเนินการในพื้นที่ สำนักงานเทศบาลตำบลนาทวีนอก หมู่ที่ 8 ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 63-L7892-5-...... ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2563 - 30 เมษายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 92,492.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกติดเชื้อแล้วรวม 195 ประเทศโดยประเทศที่มียอดผู้ป่วยยืนยัน 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน 81,769 ราย (รวม ฮ่องกง 453 ราย มาเก๊า 31 ราย) อิตาลี 74,386 ราย สหรัฐอเมริกา 68,573 ราย สเปน 49,515 ราย เยอรมนี 39,355 ราย อิหร่าน 29,406 ราย ฝรั่งเศส 25,233 ราย สวิสเซอร์แลนด์ 11,027 ราย สหราชอาณาจักร 9,529 ราย และ เกาหลีใต้ 9,241 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 1,034 ราย กลับบ้านแล้ว 97 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 ของผู้ป่วยในประเทศไทย รวมสะสม 1,136 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 27 มีนาคม 2563) และจังหวัดสงขลา มีผู้ป่วยสะสม 12 จำนวน 18 ราย สำหรับเทศบาลตำบลนาทวีนอก พบว่ามีผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน 90 รายซึ่งจำเป็นจะต้องมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลนาทวีนอก งานสาธารณสุข เทศบาลตำบลนาทวีนอกมีความประสงค์จะดำเนินการโครงการสนับสนุนมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ 1. ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) บัญญัติให้ เทศบาลตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (6) และ (19) บัญญัติให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่กำลังระบาดอยู่และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบกับประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ข้อ 10/1 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ 10 ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ 12 มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย งานสาธารณสุข เทศบาลตำบลนาทวีนอก จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนและหน่วยบริการในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง
  2. เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. เพื่อการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังในพื้นที่เพื่อเป็นหน่วยประสานงาน ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยในพื้นที่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019
  2. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับคัดกรองโรค
  3. สนับสนุนเจลแอลกอฮอล์ แก่ประชาชน กลุ่มคน และหน่วยงานในพื้นที่
  4. รณรงค์พ่นน้ำยาเคมีฆ่าเชื้อ ในพื้นที่
  5. จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังฯ
  6. จัดจ้างทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10,238
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ถูกต้อง
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการคัดกรองโรคตามความเหมาะสม
  3. กลุ่มองค์กร/หน่วยงานในพื้นที่ได้รับการสนับสนุนเจลแอลกอฮอล์เพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นต้น
  4. หน่วยงานในพื้นที่ได้รับการพ่นน้ำยาเคมีฆ่าเชื้อเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน/ควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่
  5. เกิดศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในพื้นที่
  6. ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงหน้ากากอนามัยแบบผ้า และมีการสวมใส่เมื่อเข้าชุมชนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนและหน่วยบริการในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของประชาชนและหน่วยบริการในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง
0.00

 

2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ตัวชี้วัด : มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
0.00

 

3 เพื่อการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังในพื้นที่เพื่อเป็นหน่วยประสานงาน ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยในพื้นที่
ตัวชี้วัด : มีศูนย์เฝ้าระวังในพื้นที่เพื่อเป็นหน่วยประสานงาน ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยในพื้นที่
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10238
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10,238
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนและหน่วยบริการในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง (2) เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (3) เพื่อการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังในพื้นที่เพื่อเป็นหน่วยประสานงาน ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยในพื้นที่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) รณรงค์ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (2) สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับคัดกรองโรค (3) สนับสนุนเจลแอลกอฮอล์    แก่ประชาชน กลุ่มคน และหน่วยงานในพื้นที่ (4) รณรงค์พ่นน้ำยาเคมีฆ่าเชื้อ  ในพื้นที่ (5) จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังฯ (6) จัดจ้างทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสนับสนุนมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L7892-5-......

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปิยะนุช บูยูโส๊ะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด