กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่ลูกปลอดภัย ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5259-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 เมษายน 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธิดารัตน์ เกื้อคราม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
8.16
2 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน
23.90
3 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
45.00
4 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
75.00
5 เครือข่ายชุมชนด้านอนามัยแม่และเด็กมีศักยภาพในการสนับสนุนบุคลากรทางสาธารณสุข (คน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดให้หน่วยบริการ จัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุพแห่งชาติ เรื่องประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2559 โดยกำหนดให้สามารถดำเนินการคลอบคลุมตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ เรื่องการจัดบริการสาธารณสุขฯ พ.ศ.2547 เอกสารแนบท้าย ลงวันที่ 25 มีนาคม 2557 ทุกรายการ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายและแผนพัฒนายุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่2 (2563-2569) ว่าด้วยการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ตามโครงการสาวไทยแก้มแดง มีลูกเพื่อชาติไทย การส่งเสริมการเกิดและเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ การเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ส่งเสริมลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ได้รับการดูแลหลังคลอดที่ดี และเด็กได้รับการเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย จากข้อมูลปี 2558 ประเทศไทยมีอัตรามารดาตาย อยู่ที่ร้อยละ 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน มีสาเหตุจากการตกเลือดหลังคลอด ซีดจากการขาดธาตุเหล็กและพบว่าทารกได้รับการลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 23.9 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาได้มีนโยบาย ลดแม่ตายโดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด การให้บริการฝากครรภ์คุณภาพ เพื่อนำไปสู่การคลอดที่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีสุขภาพแข็งแรง จากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย ในปีงบประมาณ 2562 พบภาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.16 และทารกได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 89.66 ซึ่งเป็นปัญหาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบาโหย ที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย จึงได้จัดทำโครงการ แม่ลูกปลอดภัย ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ปี 2563 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

45.00 100.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

75.00 100.00
3 เพื่อให้ทีมแกนนำพ่อแม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพและสามารถดำเนินงานเชิงรุก (ร้อยละของผู้ผ่านการอบรม)

ทีมแกนนำ 1 ทีม 20 คน ผ่านการอบรมร้อยละ 100

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมรณรงค์ และ ในให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 2,700.00 -
??/??/???? กิจกรรมเยี่ยมหลังคลอด 0 6,300.00 -

1.จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย 2.จัดกิจกรรมอบรมเสริมยุทธศาสตร์/ทักษะ/องค์ความรู้ใหม่ แก่แกนนำพ่อแม่/แม่ตัวอย่าง และเสวนาประสบการณ์ด้านการฝากครรภ์ การดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์ ครอบครัวกับการมีส่วนร่วมพัฒนาสุขภาพ 3.ดำเนินกิจกรรมรณรงค์   3.1 แกนนำพ่อแม่สำรวจ รณรงค์เชิงลึกในประชากรวัยเจริญพันธ์คู่ และจัดทำทะเบียนเฝ้าระวัง   3.2 ติดตามเฝ้าระวังการตั้งครรภ์และการฝากครรภ์ พร้อมจัดทำและนำเสนอเอกสารคำแนะนำ   3.3 มอบเกียรติบัตร และของที่ระลึกสำหรับครอบครัวผ่านเกณฑ์ประกวดพ่อแม่เชี่ยวชาญ 4.ประเมินและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ตื่นตัวในการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
  2. หญิงตั้งครรภ์ ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ และมีทีมแกนนำพ่อแม่ได้รับการพัฒนา ร่วมด้วย
  3. ทีมแกนนำพ่อแม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
  4. หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการเยี่ยมหลังคลอดครบตามเกณฑ์ 3 ครั้ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2563 00:00 น.