กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่าย อสม หมู่ที่ 15 ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5209-10.2.044
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพ อสม.หมู่ที่ 15 ตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพิกุล หนูวิไล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์การเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของคนไทย พบว่า ประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 มีกิจกรรมทางกายต่ำ ส่วนการออกกำลังกายพบว่า ผู้ใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที ร้อยละ 22-24 และมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่ออกกำลังกายเพียงพอต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ดังนั้น ประชาชนควรหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น       สำหรับกลุ่มวัยทำงาน เป็นวัยที่มักมีข้ออ้างว่าไม่มีเวลาว่างออกกำลังกาย ทั้งที่วัยนี้นับว่ามีความจำเป็นมาก เพราะร่างกายต้องได้รับการรักษาและฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรอจากการทำงาน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมตามเวลาและสถานที่ได้ เช่น การทำงานบ้าน หรือฝึกกายบริหารแบบง่ายๆ เช่น แกว่งแขน เดินขึ้นบันได เดินเร็ว ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น จะช่วยให้ปอด หัวใจ กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยควรเคลื่อนไหวออกกำลังระดับปานกลางอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วันๆ ละ 30 นาที และควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย และไม่หักโหมมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโทษต่อสุขภาพได้เช่นกัน ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวควรออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ซึ่ง คนวัยทำงานและผู้สูงอายุยังออกกำลังกายน้อย
        ภาคีเครือข่ายสุขภาพตำบลท่าช้าง เห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จึงเสนอโครงการ เครือข่าย อสม หมู่ที่ 15 ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพปี 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เป้าหมาย ประชาชนและผู้สนใจหมูที่ 15ตำบลท่าช้าง รณรงค์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ณ ลานกีฬาออกกำลังกาย สภานีรถไฟบ้านดินลาน จำนวน 30 คน วัตถุประสงค์ 1เพื่อส่งเสริมให้ทุกชมรมแอโรบิคในพื้นที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้แกนนำทุกกลุ่มมีกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพและออกกำลังกายที่เหมาะสม 2.ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคที่สำคัญเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน ไขมันสูง โรคระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ


1.อัตราการออกกำลังกายในกลุ่มวัยทำงาน ผู้สูงอายุมีผู้เข้าร่วมมากขึ้น ออกกำลังกายแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ 2.อัตราป่วยโรคหัวใจหลอดเลือด เบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคระบบทางเดินหายใจ ลดลง

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. จัดทำโครงการฯเพื่อขออนุมัติต่อ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าช้าง
  2. คณะกรรมการดำเนินงานเครือข่ายอสม ฯขับเคลื่อนในการออกกำลังกาย
  3. ชี้แจงประสานงานผู้เกี่ยวข้องระดับตำบล ได้แก่อสม แกนนำชมรมฯต่างๆและประชาชนตำบลท่าช้าง
    1. ส่งเสริมกระตุ้นให้ประชาชนมีกลุ่มออกกำลังกายแบบ แอโรบิคสม่ำเสมอ ที่มีความสามารถเผยแพร่ความรู้และเป็นตัวอย่างในการออกกำลังกายในชุมชนได้ 6.  สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนตำบลท่าช้าง มีการรวมกลุ่มออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. อัตราป่วยโรคระบบทางเดินหายใจลดลงและประชาชนตำบลท่าช้าง มีสุขสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มขึ้น
  3. อัตราป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคเรื้อรังของประชาชนตำบลท่าช้าง ลดลง
  4. ประชาชนมีความรู้เข้าใจและมีพฤติกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสมและดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2563 11:01 น.