กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(covid-19)
รหัสโครงการ 63-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลสะเอะ
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 เมษายน 2563 - 30 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 94,485.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน เซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมื่องอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปวดปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ZSARS)และเมอร์ส (MERS) จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 21 เมษายน 2563 เวลา 11.00 น.มีรายงานผู้ป่วยสะสมจังหวังยะลา พบผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 101 ราย หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล 50 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 49 ราย ผู้ป่วยยืนยันเสียชีวิต 2 ราย
เพื่อเป็นป้องกันการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลียงการอยู่สถานที่แอหอัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัย และการล้างมือเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษาศูนย์เด็กเล็ก หน่วยงานราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลสะเอะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
2 เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง

 

0.00
4 4 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนและร้านค้าในโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
27 - 30 เม.ย. 63 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 170 43,800.00 43,800.00
27 - 30 เม.ย. 63 ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิ อินฟาเรด สำหรับวัดไข้ 2 6,000.00 6,000.00
27 - 30 เม.ย. 63 ค่าสื่อประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ COVID-19 170 40,435.00 40,435.00
29 - 30 เม.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนและร้านค้า 170 4,250.00 10,250.00
รวม 512 94,485.00 4 100,485.00

2.1 ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 เชิญวิทยากร จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อ ที่ใช้ในการอบรม
2.3 จัดอบรมให้ความรู้เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนและร้านค้า โดยวิธี - บรรยาย - แลกเปลี่ยนประสบการณ์ - สาธิตและฝึกปฏิบัติ - ซักถามปัญหาในการปฏิบัติงาน 2.4 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

2.5 ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ - ประเมินผลจากแบบทดสอบความรู้ก่อน – หลังอบรม - ประเมินผลจากการซักถามและการตอบข้อซักถามขณะอบรม - ประเมินติดตามผลการปฏิบัติงานของเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.๑ เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 7.2 ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2563 12:04 น.