กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อยสุขภาพดีเริ่มที่โรงเรียน
รหัสโครงการ 63-L1529-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 8,911.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภัทรา จันทร์พุฒ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.845,99.651place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 8,911.00
รวมงบประมาณ 8,911.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ การบริโภคอาหารก็เพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่โดยปกติสุข ในการบริโภคอาหารไม่ควรจะคำนึงถึงแต่เพียงความอร่อยเท่านั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไปคือ ความสะอาดของอาหาร และความปลอดภัย ในการบริโภค ในปัจจุบันมีการเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างรวดเร็ว การผลิตอาหารจำเป็นต้องอาศัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากมายในการผลิตอาหาร เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเกิดเป็นร้านอาหาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า และโรงงานผลิตอาหาร ซึ่งการดำเนินงานผลิตอาหารนั้นจำเป็นต้องอาศัยหลักการของการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีความน่าบริโภค เพราะมิเช่นนั้นแล้วอาจเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ทำให้มีพลังสามารถสร้างสรรค์ความเจริญต่างๆ ให้แก่ประเทศชาติได้ จึงต้องมีการควบคุม กำกับ ดูแลความปลอดภัยของอาหารตลอด    ห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การนำเข้าอาหารและวัตถุดิบ การผลิตผลทางการเกษตร การผลิตและแปรรูปอาหารตั้งแต่ระดับครัวเรือนถึงระดับอุตสาหกรรม การจัดจำหน่าย และการกระจายอาหารสู่ผู้บริโภค เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารที่ปลอดภัย อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภค หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกซ์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้น หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน จึงจัดทำโครงการ อย.น้อย สุขภาพดีเริ่มที่โรงเรียนขึ้น ตามประกาศกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ และบริการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 ข้อ 7 (1 ) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการหรือสาธารณสุขในพื้นที่ และประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 กลุ่มเป้าหมาย ข้อ 3 กลุ่มวัยเรียนและเยาวชน ด้วยเห็นว่าเด็กเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศชาติ หากปลูกฝังให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมแล้วจะช่วยลดปัญหาทางด้านสาธารณสุขในอนาคต ซึ่งเด็กเป็นผู้ที่กระตือรือร้น และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครอง ให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล เพื่อนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อน 90 6,300.00 -
1 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนและตรวจร้านค้า 90 2,611.00 -
รวม 180 8,911.00 0 0.00

1.ขั้นเตรียมการ 1.1. ประชุมคณะกรรมการเทศบาลตำบลท่างิ้ว เพื่อขอความเห็นชอบในการจัดทำโครงการ 1.2. จัดทำโครงการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลท่างิ้ว 1.3. จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และเอกสารประกอบการอบรม 2.ขั้นตอนการดำเนินงาน       2.1. ทดสอบความรู้นักเรียน ก่อน-หลัง การอบรมโครงการ อย.น้อย สุขภาพดีเริ่มที่โรงเรียน       2.2. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อน       2.3. ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนและตรวจร้านค้า       2.4. เก็บรวบรวมผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
  2. นักเรียน อย.น้อย สามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
    1. นักเรียน อย.น้อย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2563 15:17 น.