กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมแรง ร่วมใจป้องกันโรคโรคโคโรนา-19 ในพื้นที่ ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
รหัสโครงการ 63-L7250-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพันทิพย์ สุวรรณวงศ์ ประธาน อสม.ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ซึ่งระบาดหนักในประเทศจีน และอีกหลายประเทศทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อ ๑,๘๕๓,๒๑๗ ราย เสียชีวิต ๑๑๔,๒๕๐ ราย รวมถึงประเทศไทยขณะนี้มีผู้ป่วยยืนยันสะสม ๒,๖๑๓ ราย ผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ ๓๔ ราย เสียชีวิต ๔๑ ราย ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสะสม ๓๔,๘๔๘ ราย เฝ้าระวังรายใหม่ ๖๒ ราย (ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๓ ,กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) สถานการณ์ในจังหวัดสงขลา ผู้ป่วยยืนยันสะสม ๕๖ ราย ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรค ๕๙๔ ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว ๒๖ ราย ยังรักษาตัวอยู่ใน รพ. ๓๐ ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต และไม่พบผู้ป่วยรายใหม่มาเป็นเวลา ๙ วัน ตั้งแต่วันที่ ๕-๑๓ เม.ย.๖๓ (สำนักงานสาธารณสุขสงขลา) อำเภอเมืองสงขลามีผู้ที่เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรค ๔๕ ราย ผู้ป่วยยืนยัน ๑ ราย รักษาหายแล้ว มีผู้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ อ.เมืองสงขลา ๙๒๘ ราย ตำบลเขารูปช้างสูงสุด ๒๔๘ ราย ตำบลบ่อยาง ๒๒๔ ราย อยู่ระหว่างเฝ้าระวัง ๕๓ ราย ครบระยะเฝ้าระยะ ๑๔ วัน ๑๗๑ ราย สำหรับพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง มีผู้เดินทางจากต่างจังหวัดเข้ามาในพื้นที่ ๑๑ ราย อยู่ระหว่างเฝ้าระวัง ๒ ราย ครบระยะเฝ้าระวัง ๙ ราย ผู้ป่วยยืนยัน ๑ ราย รักษาหายแล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๖ เม.ย.๖๓) จากสถานการณ์โรค  โควิด-๑๙ ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจตลอดจนการดำเนินชีวิตในปัจจุบันอย่างเป็นวงกว้าง  จากปัญหาดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน แกนนำอสม. จึงจัดทำโครงการควบคุมและเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-๑๙  ในพื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมืองขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ทันเวลา

๑. ไม่เกิดผู้ป่วยโควิด-๑๙ รายใหม่ในพื้นที่

0.00
2 ๒. เพื่อป้องกันควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

๒. กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามครบ ๑๔ วัน ร้อยละ ๑๐๐

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำโครงการ ๒. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ๓. ติดต่อประสานงานเครือข่าย/สถานที่ ๔. จัดเตรียมเอกสาร, วัสดุอุปกรณ์, สถานที่ ๕. จัดกิจกรรมประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตาม แก้ไขปัญหา กับจนท. อสม.แกนนำ ประธานชุมชน ๖. จัดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย ป้ายประชาสัมพันธ์ และการเคาะประตูบ้านของอสม.
๗. จัดกิจกรรมการคัดกรองติดตามกลุ่มเสี่ยงที่บ้านครบ ๑๔ วัน ๘ สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

พื้นที่ในเขตรับผิดชอบมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและสามารถการป้องกันควบคุมโรคติดต่อได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2563 10:30 น.