กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหญิงตั้งครรภ์ใส่ใจ ห่างไกลโลหิตจาง
รหัสโครงการ 63-L3050-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 11,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกอดะ เจะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.849,101.403place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาสาธารณสุขไทยที่สำคัญ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ สำรวจโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๕๕๙ พบว่า ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีแนวโน้มความชุกโลหิตจางสูงขึ้น พ.ศ๒๕๕๙ หญิงตั้งครรภ์ มีความชุกโลหิตจาง ร้อยละ 18.4 โดยการตรวจร่างกายและการเจาะเลือด ขณะตั้งครรภ์ ผลการเจาะเลือด ครั้งแรก ของการฝากครรภ์ งบ ปี 2562 ผลที่ได้ คือ ร้อยละ 20.37 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ของตัวชี้วัด < 10 % โดยภาพรวมของสถานการณ์ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ ตำบลหนองแรต มีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ ให้เกิดภาวะ น้ำหนักน้อย กว่า ๒๕๐๐ กรัม ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาสมองเด็ก ให้เจริญเติบโต และมีโภชนาการที่ดีได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต ดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในหญิงตั้งครรภ์ โดยมีมาตรการเสริมยาธาตุเหล็กเชิงป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ ทุกราย พบว่า สถานการณ์ปัญหาโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากยังขาดการสื่อสารเชิงนโยบายการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ทาให้นโยบายระดับจังหวัด ในการดาเนินงานดังกล่าวยังไม่เป็นรูปธรรม เพื่อหญิงตั้งครรภ์ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของธาตุเหล็กกับสติปัญญาและพัฒนาการเด็กในครรภ์ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งมุ่งหวังให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ อันจะนาไปสู่สมรรถนะทางสติปัญญาและทางร่างกายของทารกในครรภ์ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

๑. ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
๒. พัฒนาระบบรายงาน ข้อมูลสถานการณ์ภาวะโลหิตจาง ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 3. ส่งเสริมความรู้ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อ-แม่ โดยให้หญิงตั้งครรภ์และสามี เข้าร่วมอบรมพร้อมกันมารดา และมุ่งเน้นความรู้ที่ป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจาง แลการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์
4. ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร ในแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โลหิตจาง จะมุ่งเน้นให้สามีเป็นผู้นำในการปรับพฤติกรรมการกินอาหารในครอบครัว เช่น จัดเตรียมเมนูอาหารเสริมธาตุเหล็กให้ภรรยา การเจาะเลือด ประเมิน ระดับเลือด Hct อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน > 35 % คือผลเลือดครั้งแรกของการฝากครรภ์ 5. ให้วิตามินเสริมธาตุเหล็กโดยให้สามีเป็นผู้คอยดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง เช่น กระตุ้นเตือนกินยา จัดยาให้กินเมื่อถึงเวลา
6. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเชิญหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว ที่สามารถแก้ไขภาวะโลหิตจางได้สำเร็จ มาเล่าเคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลตนเองให้พ้นจากภาวะเลือดจางและสรุปบทเรียนที่ได้มาเป็นแนวทางปฏิบัติในการดูแลหญิงตั้งครรภ์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดขณะใกล้คลอดไม่เกิน ร้อยละ 10
  2. ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ไม่เกิน ร้อยละ 7
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2563 12:32 น.