กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L3050-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 55,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกอดะ เจะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.849,101.403place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 950 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่งในประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม ในประเทศไทยภาระโรคเกิดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อหลักสำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทำให้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้มาตรฐาน หลักเกณฑ์และรูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อที่ดำเนินงานอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มโรคไม่ติดต่อได้คร่าชีวิตประชากรไทยถึงร้อยละ75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด หรือราว 320,000 คนต่อปีในจำนวนนี้พบว่าประมาณครึ่งหนึ่ง หรือราวร้อยละ 55 เสียชีวิตที่อายุต่ำกว่า 70 ปี ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดว่าเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เมื่อพิจารณาความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อที่เป็น สาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจำนวน 4 โรคสำคัญคือ โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้องรัง ระหว่าง พ.ศ.2555 กับ พ.ศ.2558จากข้อมูลทะเบียนการเสียชีวิต ของสำนัก บริหารทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ที่ได้รับการให้สาเหตุการเสียชีวิตตามมาตรฐานทางการแพทย์แล้ว พบว่า อัตราตายในช่วงอายุ30 - 69 ปีของทั้ง 4 โรคมีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้น โดย โรคหลอดเลือดสมองมีการเพิ่มมากที่สุด จาก 33.4 ต่อแสนประชากร เพิ่มเป็น 40.9 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือโรค หัวใจขาดเลือด จาก 22.4 ต่อ แสนประชากร เป็น 27.8 ต่อแสนประชากร, โรคเบาหวาน จาก 13.2 ต่อแสนประชากร เพิ่มเป็น 17.8 ต่อแสน ประชากร และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังจาก 3.8 ต่อแสนประชากร เป็น 4.5 ต่อแสนประชากร (ที่มา:แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ปัญหาโรคไม่ติดต่อเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางโรคเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นและมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจากครอบครัวและสังคม จากการศึกษาแนวปฏิบัติการบริการป้องกันควบคุมโรคและความดันโลหิตสูงพบว่าปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่ภาวะความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงรอง ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล บริโภคอาหารที่เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งประชาชนมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องและไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคที่ไม่ติดต่อเหล่านั้น จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต ได้คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งพบความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในปี2562 เป้าหมายคัดกรองโรคเบาหวาน ประชาการอายุ 3๕ ปีขึ้นไป จำนวน 1,150 คน คัดกรองเบาหวานได้ 1,110 คน คิดเป็นร้อยละ 96.52 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 222 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 กลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.27 ได้รับวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.18 และจำนวนผู้ป่วยลดลงจากปี61 จำนวน 1 คน และเป้าหมายคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ประชาการอายุ 3๕ ปีขึ้นไป จำนวน958 คน คัดกรองความดันสูงได้ 918 คนคิดเป็นร้อยละ 95.82 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน 272 คน คิดเป็นร้อยละ 29.62 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.44 ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคความดันรายใหม่ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.44 และจำนวนผู้ป่วยลดลงจากปี2561 จำนวน 3 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยงได้เร็ว สามารถให้คำแนะนำ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยง ลดอัตราการเป็นผู้ป่วยรายใหม่ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

กิจกรรมโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
1. ประชุมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ 2. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
4. จัดทำแผนกำหนดวันออกปฏิบัติงานเชิงรุกการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป 5. จัดกิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป พร้อมแจ้งผลการคัดกรองให้กลุ่มเป้าหมายทราบ 5.1 อสม. นัดประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ตามละแวกที่รับผิดชอบเป็นจุด พร้อมเจ้าหน้าที่ลงไปคัดกรองในแต่ละหมู่บ้านเพื่อรับการคัดกรองโรความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
5.2 เจ้าหน้าทีสรุปผลการตรวจคัดกรอง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาค่าดรรชนีมวลกาย ตรวจวัดความดันโลหิตสูง ค่าน้ำตาลในเลือด อื่นๆเป็นต้น   6. เจ้าหน้าที่สรุปผลการตรวจคัดกรอง จัดทำทะเบียนแยกประเภท กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด และส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเข้าสู่ระบบส่อต่อ 7. นำกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วยเข้ากลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยนัดทำกิจกรรมครั้งต่อไป 8. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ เดือน มีนาคม และมิถุนายน กิจกรรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ - ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้วมือ คำนวณค่าดัชนีมวลกาย - ทำแบบทอสอบความรู้ก่อนเข้าอบรมโครงการ - บรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง ใช้หลัก 3อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแรต - จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี้ - ฐานอาหารแลกเปลี่ยน - ฐานฉลากโภชนาการ - ฐานคำนวณแคลอรี่ - ทำแบบทดสอบความรู้หลังการอบรม 2. กิจกรรมจัดการอารมณ์ : เพลง ดั่งดอกไม้บาน, Chicken Dence 3. กิจกรรมการออกกำลังกาย : ผ้ายืด บริหารร่างกาย ขั้นติดตามโครงการ - มีการติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวน 3 ครั้ง (ระยะติดตามห่างกัน 1 เดือน) โดยพิจารณาจากค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่าความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกาย ค่ารอบเอวและค่าน้ำหนักที่ลดลง
ขั้นประเมินผล
1. ประเมินความรู้ก่อน-หลังเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. ประเมินระดับค่าน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และระดับความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในการ หากพบเป็นกลุ่มป่วยต้องได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค
3. ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามเกณฑ์
  2. ลดอัตราผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5
  3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักสนใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นทำให้ทราบอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและพฤติกรรมที่ควรปรับปรุง
  4. เพื่อสร้างและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารลดหวาน มัน เค็มให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง
  5. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ป่วยเป็นโรค ได้รับการส่งต่อและดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2563 12:51 น.