กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนเทศบาลตำบลปริก ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพสต.
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 18,100.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 18,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคที่เป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บปวดและการสูญเสียฟันน้ำนมคือโรคฟันผุ ซึ่งในเด็กอายุ 3 ปี และ 5 ปี ที่ใช้เป็นตัวแทนในการติดตามการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมพบว่า เด็กอายุ 3 ปี ซึ่งเป็น ขวบปีแรกที่มีฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่ มีฟันผุระยะเริ่มต้นร้อยละ 31.1 มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 52.9 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 2.8 ซี่/คน และร้อยละ 2.3 ของเด็กอายุ 3 ปี มีประสบการณ์ การสูญเสียฟันในช่องปาก นอกจากนี้พบว่าเด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 52.0 หรือ เฉลี่ย 2.7 ซี่/คน ความชุกของการเกิดฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี พบสูงสุดในภาคกลางและภาคใต้ ร้อยละ 57.9 และ 57.0 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 3.5 ซี่/คน และ 3.1 ซี่/คน ตามลำดับ ในขณะที่เด็กอายุ 3 ปี ในภาค เหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความชุกของโรคฟันผุน้อยกว่า คือ ร้อยละ 51.0 และ 48.3 ค่าเฉลี่ย ฟันผุ ถอน อุด 2.5 ซี่/คน และ 2.3 ซี่/คน ตามลำดับ ความชุกการเกิดโรคฟันผุในเขตชนบท สูงกว่า เขตเมืองและกรุงเทพมหานคร โดยเขตชนบทพบ ร้อยละ 56.0 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 3 ซี่/คน เขตเมือง และกรุงเทพมหานครพบร้อยละ 50.2 และ 49.5 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 2.6 ซี่/คน และ 2.5 ซี่/คน ตามลำดับ
ผลสภาวะสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กอายุ 5 ปี พบว่ามีฟันผุระยะเริ่มต้น 31.3 ความชุกในการ เกิดโรคฟันผุร้อยละ 75.6 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 4.5 ซี่/คน โดยพบสูงสุดในเขตภาคใต้และภาคเหนือ คือ ร้อยละ 80.2 และ 78.3 ค่าเฉลี่ย ฟันผุ ถอน อุด 5.1 และ 4.4 ซี่/คน ตามลำดับ ในขณะที่เด็กอายุ 5 ปี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง มีความชุกของโรคฟันผุน้อยกว่า คือ ร้อยละ74.7 และ 74.2 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 4.0 และ 5.2 ซี่/คน ตามลำดับ อัตราการเกิดโรคฟันผุในเขตชนบท สูงกว่า เขตเมืองและกรุงเทพมหานคร โดยเขตชนบทพบ ร้อยละ 80.6 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 5.0 ซี่/คน เขตเมืองและกรุงเทพมหานครพบร้อยละ 72.0 และ 66.1 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 4.2 และ 3.7 ซี่/คน ตามลำดับ และยังพบการสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.5 และ พบเด็กอายุ 5 ปี มีฟันถาวรขึ้นร้อยละ 18.6
เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ปี และ 5 ปี พบว่าสถานการณ์ในเด็กอายุ 3 ปี มีความใกล้เคียงกับ การสำรวจครั้งที่ผ่านมา โดยพบผู้ปราศจากโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 47.1 ในเด็กอายุ 5 ปี มีแนวโน้มการปราศจากโรคฟันผุเพิ่มขึ้นคือร้อยละ 24.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กก่อนวัยเรียน ทั้ง 2 กลุ่มอายุประมาณร้อยละ 40.0 มีคราบจุลินทรีย์อยู่ในระดับเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ พบฟันผุ ระยะเริ่มต้นในเด็กอายุ 3 ปี และ 5 ปี ร้อยละ 31.1 และร้อยละ 31.3 ตามลำดับ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จำเป็น ต้องได้รับการส่งเสริมป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดฟันผุเป็นรู นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กอายุ 5 ปี ร้อยละ 18.6 มีฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งขึ้นในช่องปากแล้ว การให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่ช่วงปฐมวัยจึงมีความสำคัญ และลดโอกาสเกิดฟันถาวรผุได้ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเน้นย้ำเพิ่มเติมคือ พฤติกรรม ทันตสุขภาพที่พึงประสงค์ได้แก่ การแปรงฟันอย่างมีคุณภาพ และพฤติกรรมการบริโภคนม แม้ว่า เด็กส่วนใหญ่จะแปรงฟันตอนเช้าก่อนมาโรงเรียน แต่พบว่าผู้ปกครองของเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 44.1 ปล่อยให้เด็กแปรงฟันด้วยตนเอง และเมื่อเด็กโตขึ้นพบว่าในกลุ่มอายุ 5 ปี เด็กถูกปล่อยให้แปรงฟันเอง ถึงร้อยละ 80.4 มีเพียงร้อยละ 14.4 ที่ผู้ปกครองยังคงแปรงให้ พฤติกรรมการดื่มนมเด็กอายุ 3 ปี และ 5 ปี ดื่มนมหวานและนมเปรี้ยวเมื่ออยู่ที่บ้านถึงร้อยละ 44.5 และ 47.6 ตามลำดับ เด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 39.5 ใช้ขวดนมเมื่ออยู่ที่บ้าน และยังมีเด็กอายุ 5 ปี อีกร้อยละ 11.9 ที่ยังคงดูดนมจากขวด ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ จากการบริการทันตกรรมกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ปี 2561 พบว่า เด็กอายุ 0-2 ปี จำนวน 462 คน ได้รับบริการทางทันตกรรม 340 คน คิดเป็นร้อยละ 73.59 มีฟันผุ 117 คน คิดเป็นร้อยละ 34.41 และเด็กอายุ 3-5 ปี จำนวน 470 คน ได้รับบริการทางทันตกรรม 276 คน คิดเป็นร้อยละ 58.72 มีฟันผุ 126 คน คิดเป็นร้อยละ 45.65 ซึ่งเด็กก่อนวัยเรียนยังมีพฤติกรรมที่ยังดูดขวดนม และกินอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ ด้วยเหตุนี้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล ทางฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียนมากขึ้น 2.2 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอนามัยช่องปากและบริการป้องกันโรคฟันผุให้เด็กก่อนวัยเรียน 2.3 เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และชุมชนในการส่งเสริมทันต

3.1 เด็กก่อนวัยเรียน ในเขตเทศบาลตำบลปริก มีฟันผุไม่เกินร้อยละ 20 ของผู้เข้าร่วมโครงการ 3.2 เด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ 3.3 ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

5.1 ระยะเตรียมการ   5.1.1 จัดทำโครงการ   5.1.2 ประชุมวางแผนในการดำเนินงาน
  5.1.3 กำหนดกิจกรรม กลวิธีดำเนินงาน และการสำรวจกลุ่มเป้าหมายในชุมชน   5.1.4 เตรียมสิ่งสนับสนุนการดำเนินงาน   5.1.4.1 วัสดุอุปกรณ์ เอกสารการอบรม และงบประมาณ   5.1.4.2 อาหารและเครื่องดื่มสำหรับการอบรม


  1. วิธีการดำเนินงาน (ต่อ) 5.2 ระยะดำเนินการ     5.2.1. อบรมผู้ปกครองเด็กโดยทันตบุคลากร
      5.2.2.1 ให้ความรู้เรื่อง ความสำคัญของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี พัฒนาการการขึ้นของ               ฟัน สาเหตุที่ทำให้ฟันผุในเด็ก ลักษณะฟันปกติ ฟันเริ่มผุ ฟันผุ การดูแลช่องปากเด็ก
      5.2.2.2 ให้ความรู้ในการตรวจ การทำความสะอาดช่องปาก การให้คำแนะนำ 5.3 นัดเด็กมาทาฟลูออไรด์วาร์นิชโดยทันตาภิบาล ที่ รพ.สต.หรือจุดรวมของหมู่บ้าน ทุก 3 - 6 เดือน     5.3.1 ตรวจฟัน ให้คำแนะนำ     5.3.2 ทาฟลูออไรด์วาร์นิช ให้คำแนะนำหลังทำพร้อมบันทึกการได้รับฟลูออไรด์ในสมุดบันทึก     ประจำตัว         5.3.3 นัดหมายครั้งต่อไปในสมุดบันทึกประจำตัว     5.4 สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 เด็กก่อนวัยเรียน ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี 10.2 ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน 10.3 ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2563 13:57 น.