กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
รหัสโครงการ 63-L2515-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านบาโงกือเตะ
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2563
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหามีด๊ะ รอสะ , นางสางรุสนี สาแม, นางสาวมาวานิง อูมะ, นางสาวสาวียะห์ สาแม, นางสีตีตีเมาะ นิแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 171 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันระบบสุขภาพของคนไทยอยู่ในช่วงการปฏิรูปสุขภาพ จากอดีตที่ผ่านมางบประมาณด้านซ่อมสุขภาพต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคเลือด เป็นโรคเรื้อรัง ที่ต้องให้ความสำคัญ พบว่ามีผู้ป่วยในกลุ่มนี้เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวนเพิ่มขึ้น ทุกๆปีจากการตระหนักถึงการป้องกันการเกิดโรค การส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ซึ่งใช้เงินหรืองบประมาณน้อยกว่าที่จะรักษาหรือซ่อมสุขภาพ ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสามัคคีประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงกือเต๊ะ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปีงบประมาณ 2563 ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาผู้ป่วยและให้การดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ควบคุมการริโภคอาหารแรออกกำลังกาย โดยใช้ยาน้อยที่สุด และคัดกรองอายุ 15-34ปี  เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น“ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการและเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกายเช่น ตา ไต หลอดเลือด อุบัติการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก
  จากรายงานผลการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงกือเต๊ะ ปี 2562 พบว่า มีอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ เพิ่มขึ้น จากระดับการศึกษาอาชีพและวิถีชีวิตของชุมชนส่วนใหญ่ประชาชนยังให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง น้อย ทำแต่งาน รับประทานอาหารที่หาได้ง่ายในชุมชน อาหารแปรรูปที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้หลายวันโดยไม่เน่าเสีย และมีเกือบทุกหลังคาเรือน เช่น บูดู ปลาเค็ม และเนื้อหมัก ซึ่งจะมีรสชาติที่เค็มมาก และยังนิยมบริโภคอาหารที่มีรสหวาน รสมัน และพฤติกรรมการบริโภคน้ำชา กาแฟ เป็นกิจวัตประจำวัน ประกอบกับการขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้องตามรูปแบบ และยังมีพฤติกรรมที่ไม่นิยมรับประทานผัก จึงส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ มีภาวะป่วยด้วยโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของตนเอง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มขึ้นในแต่ละปี แม้ว่าทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะให้ข้อมูล ให้สุขศึกษาที่เกี่ยวกับโรคเหล่านี้มาทุกๆปี แต่ก็ยังมีประชาชนที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นในทุกๆปีเช่นเดียวกัน

ในการนี้ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสามัคคีประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงกือเต๊ะ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และได้คิดหาแนวทางแก้ไขและป้องกันภาวะความรุนแรงของโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมตนเองจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานแก่ประชาชน 35 ปีขึ้นไป และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค ประจำปี 2563 นี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ เพื่อให้การรักษาในระยะเริ่มต้นอย่างทันท่วงที 2.เพื่อสร้างแกนนำ อสม.ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน 3. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิต อย่างน้อยร้อยละ 80 4.เพื่อให้ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิต ร้อยละ100 5.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 305 20,000.00 0 0.00
18 พ.ค. 63 จ้างทำป้ายไวนิล 3 800.00 -
18 พ.ค. 63 ค่าเอกสาร 130 900.00 -
19 พ.ค. 63 อบรม อสม. 41 4,100.00 -
19 พ.ค. 63 ค่าวิทยากร 1 1,200.00 -
21 พ.ค. 63 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง 65 6,500.00 -
26 พ.ค. 63 อบรมกลุ่มเสี่ยงและคัดกรองเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 65 6,500.00 -

1.ประชุมชี้แจง อสม. ในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์โครงการและแนวทางการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 2.คัดเลือกแกนนำ อสม. และอบรมแกนนำ การัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 3.ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวเพื่อขอความร่วมมือสร้างกระแสในการสร้างสุขภาพ 4.สำรวจประชากรกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และ 15-34 ปี และจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง 5.อบรมแกนนำอสม. ตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง 6.แกนนำ อสม. ตรวจคัดกรองประชาชน 15 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบบันทึกการตรวจคัดกรองความเสี่ยง 7.เจ้าหน้าที่รณรงค์ออกตรวจหาน้ำตาลในเลือดในทุกหมู่บ้าน แก่กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองโดยใช้แบบบันทึกการตรวจคัดกรองความเสี่ยง พร้อมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเรื่องการปฏิบัติดูแลตนเองทั้งผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป 8. ติดตามเยี่ยมกลุ่มเป้าหมายที่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและสามารถรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภพตำบลบ้านบาโงกือเต๊ะ       2 ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่และลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ                    3 กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและลดอัตราการเจ็บป่วยและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้       4 ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค       5 ประชาชนสามารถประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2563 10:26 น.