กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน หมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมือง
รหัสโครงการ 63-L3360-2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมือง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 8,590.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ นายยมนา คงศรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.556,100.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 109 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในประเทศไทย อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ซึ่งสาเหตุหลักๆเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป ในจังหวัดพัทลุงมีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง อันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงมีจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และต้องประสบกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น เส้นเลือดในสมองแตก อัมพฤกษ์ อัมพาต เข้าไปอยู่ในชุมชนให้เห็นกันมากขึ้น       หมู่ที่ 9 บ้านนาภู่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง มีประชากรทั้งสิ้น 574 คน และแบ่งเป็นกลุ่มที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 279 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยแล้วจำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 19.71 และจากออกคัดกรองของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 9 พบว่ามีกลุ่มเสี่ยง( ค่าความดันมากกว่า 121/81 มิลลิเมตรปรอท) จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 109 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.06 ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างมาก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมือง จึงเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหา โดยเน้นกิจกรรมการให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง และการติดตามวัดความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความรุนแรงของโรคและ ลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ ตลอดจนการแนะนำส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ดำเนินการและรักษาต่ออย่างทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อติดตามวัดความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิต

0.00
2 2 เพื่อให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรค

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

0.00
3 3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างทันถ่วงที

ร้อยละ 100 ของกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 63 - 30 ส.ค. 63 กิจกรรมติดตามวัดความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง ที่ได้จากการคัดกรองความดันโลหิต ประจำปี ในกลุ่ม 35 ปี ขึ้นไป 109 8,590.00 8,590.00
1 มี.ค. 63 - 30 ส.ค. 63 การให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมความดันโลหิต รายบุคคล 0 0.00 0.00
รวม 109 8,590.00 2 8,590.00

ศึกษาและรวบรวมรายชื่อกลุ่มเสี่ยง     2. การเขียนและขออนุมัติโครงการในการติดตามกลุ่มเสี่ยง     3.จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ และเอกสารแบบติดตาม     4. กิจกรรมการติดตามวัดความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยงโดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ดังนี้
        - กลุ่มเสี่ยง ( ค่าความดันโลหิต 121-139/81-89 มิลลิเมตรปรอท ) อสม.ติดตามวัดความดันโลหิตเดือนละ 2 ครั้ง อย่างน้อย 3 เดือน พร้อมบันทึกข้อมูลลงแบบติดตาม         - กลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วย ( ค่าความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป)อสม.ติดตามวัดความดันโลหิตเดือนละ 3 ครั้ง อย่างน้อย 3 เดือน พร้อมบันทึกข้อมูลลงแบบติดตาม       5. กิจกรรมสรุปข้อมูลการติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูล       6. กิจกรรมการให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดย อสม.เป็นรายบุคคล       7. สรุปและรายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงมีความดันโลหิตลดลงมาสู่กลุ่มปกติ         2. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้และสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค         3. กลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต ได้รับการส่งต่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2563 15:45 น.