กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ชุมชนไร้สารพิษ ตำบลบาโหย ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5259-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอกชัย รัตนมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความสำเร็จของคลินิกสุขภาพเกษตรกร
100.00
2 จำนวนเกษตรกรได้รับการพัฒนาด้านเกษตรปลอดสารพิษ
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชาชนในตำบลบาโหยเกือบทั้งหมดประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะปลูก ได้แก่ การทำสวนยางพารา และทำสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน ลองกอง กาแฟ ซึ่งได้รับการส่งเสริมจาก อบต.บาโหย และยังมีผู้ทำงานรับจ้างทางการเกษตร เกษตรกรบางส่วนจะใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ได้คำนึงถึงอันตรายต่อตนเอง ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังจากการไม่สวมถุงมือและไม่สวมรองเท้าป้องกันขณะทำงาน การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งในอากาศ การรับประทานอาหารและน้ำดื่นที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพเกษตรกรทั้งสิ้น
การได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเป็นพิษและอันตรายต่อสุขภาพ สามารถเกิดอาการแสดงเฉียบพลันตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนระดับรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ นอกจากเกษตรกรจะได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วยังมีประชาชนทั่วไปที่บริโภคผักและผลไม้ได้รับสารพิษที่ตกค้างอยู่ได้
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมาเช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
ทั้งนี้ นโยบายกระทรวงสาธารณสุข จะพัฒนาการดำเนินการ บนหลักการ “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ร่างกายแข็งแรง และเศรษฐกิจไทยแข็งแรง” ด้วยนโยบาย 5 ด้าน คือ 1.การพัฒนางานด้านสาธารณสุข ตามแนวพระราชดำริ 2.ให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ 3.ให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ และมีความมั่นคงทางสุขภาพ 4.ผลักดันเทคโนโลยีทางการแพทย์ และการสาธารณสุข 5.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ มีนโยบายเร่งด่วนคือ การสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงการใช้กัญชาและสมุนไพรทางการแพทย์อย่างปลอดภัย จัดการภัยคุกคามและเสริมสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพอย่างครบวงจร ยกระดับ อสม. ให้เป็นหมอประจำบ้าน ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และ สนับสนุนให้ยุติการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่มีอันตรายต่อสุขภาพประชาชน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศวาระแห่งชาติด้านสุขภาพของคนไทย “ให้ปี 2563 เป็นปีอาหารปลอดภัย” โดยที่กระทรวงสาธารณสุขในฐานะหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของประชาชนและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข จะดำเนินการให้ผู้ป่วยและประชาชนไทยได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารกำจัดศัตรูพืชและสารอันตรายจากสารปลอมปนหรือปนเปื้อนในอาหารต่างๆ โดยจะดำเนินการให้หน่วยงานในกระทรวงสาสุขเป็นแบบอย่างด้านอาหารปลอดภัย และจะบูรณาการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คนไทยแข็งแรงมีสุขภาพดี ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือน และประเทศชาติ รวมทั้งทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเข้มแข็ง (26 ธันวาคม 2562) โครงการเกษตรกรปลอดโรคฯ มุ่งเพื่อให้กลุ่มเกษตรกร มีความรู้ในเรื่องการป้องกันโรคจากการทำงานและกลุ่มเกษตรกรได้รับตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด และมีการตรวจผักปลอดภัยจากการสารเคมี เพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไปถึงผลผลิต และผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปในตำบลบาโหย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างคุณภาพและความเข้มแข็งด้านสุขภาพเกษตรกร ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ เพื่อผู้บริโภค

ตัวชี้วัดความสำเร็จ – ร้อยละเกษตรกรได้รับการตรวจเลือด การแปลงปลูก และตรวจผลผลิต    เป้าหมาย – เกษตรกรที่ความเสี่ยง 50 ราย แปลงปลูก 20 แปลง  ตัวอย่างผลผลิต 50 ตัวอย่าง

50.00 50.00
2 เพื่อพัฒนาคลินิกสุขภาพเกษตรกรและการดำเนินการเชิงรุกด้านอาหารปลอดภัย

คลินิกสุขภาพเกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน

1.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 30 มิ.ย. 63 จัดหาวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ และสื่อ ที่จำเป็นในการตรวจสุขภาพ ตรวจประเมิน ให้เหมาะสม ทันเวลา และเพียงพอ 0 8,000.00 -
1 มิ.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 การจัดบริการเชิงรุกในแปลงเกษตร 0 2,000.00 -

1.วิธีดำเนินการตามเงื่อนไขกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ กำหนด 5 ประเด็น - การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ - การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้ที่มีภาวะเสี่ยง - การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ - การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้ - การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ 2.วิธีดำเนินการตามขั้นตอนโครงการด้านการตรวจ ตรวจประเมิน และรับรอง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรมีความเข้มแข็งด้านสุขภาพ และผลผลิต ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองคุณภาพ
  2. คลินิกสุขภาพเกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2563 10:06 น.