กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมศักยภาพชุมชนควบคุมโรคมาลาเรียยั่งยืน ตำบลบาโหย ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5259-5-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานกำจัดมาลาเรียภาคประชาชนตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประดับ โพธิ์เงิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย(คน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมาลาเรียพบมากในเขตพื้นที่มีอุณหภูมิเหมาะสม เชื้อมีมากในป่าเขาในจังหวัดตามแนวชายแดนของประเทศไทย ในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อยพบว่ามีเชื้อสายพันธุ์ฟาลซิปารัมสายพันธุ์ไวแวกซ์ และเชื่อสายพันธุ์ใหม่ โนลีไซ ตัวพาหะที่นำโรคมาลาเรียคือยุงก้นปล่อง ซึ่งพบมาก 2 ชนิด คือ 1.Anopheles Dirus พบในป่าทึบ ชอบวางไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ เช่น แอ่งหินในป่าทึบ นิสัยชอบกัดเลือดคน มากกว่าสัตว์อื่น ออกหากินตอนดึกถึงเช้ามืด และไม่ชอบเกาะฝาบ้าน 2.Anopheles Minimus พบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธาร น้ำใสไหลเอื่อยๆ หลังจากกัดคน แล้วจะเกาะที่ฝาบ้าน แต่ในปัจจุบันมีการปรับตัวคือหลังจากกัดคนแล้วจะไม่เกาะฝาบ้านและจะกัดคนนอกบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะตอนหัวค่ำ ไข้มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน และแนวจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงในพื้นที่ตำบลบาโหย ตำบลบาโหยซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซียและจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดยะลาซึ่งมีผู้ป่วยสูงสุดในปี 2562 ซึ่งแต่ละปีจะมีการอพยพเคลื่อนย้ายของประชากรประกอบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนมีอาชีพเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้มาลาเรียและสภาพพื้นที่ตามแนวชายแดนเอื้อต่อการระบาดของโรคมาลาเรีย จากรายงานระบาดวิทยา ของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๑๒.2 จังหวัดสงขลา สถานการณ์ไข้มาลาเรีย ปี 2562 พบผู้ป่วยสูงสุดในพื้นที่ตำบลบาโหย และตำบลคูหา เป็นพื้นที่ที่พบไข้มาลาเรียซ้ำซาก ( Hard core ) เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าเขา และประชาชนประกอบอาชีพสวนยางพาราซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงการเข้าสู่พื้นที่ได้และจากการสอบสวนโรคผู้ป่วย พบว่าส่วนมากตอนกลางคืนไม่นอนกลางมุ้ง ยังไม่มีการป้องกันตัวเองด้วยวิธีอื่นสถานการณ์การระบาดของโรคมาลาเรียยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะในแถบที่ยังมีการเคลื่อนย้ายของประชากรข้ามพรมแดนเข้ามาในประเทศ มีรายงานผู้ป่วยโรคมาเลเรียชนิดโนเลซี (P. knowlesi) ซึ่งในเบื้องต้นได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมาลาเรียชนิดอื่น และเมื่อนำมาศึกษาวินิจฉัยด้วยวิธี PCR จึงพบว่าเป็นชนิดโนเลซีซึ่งโดยธรรมชาติเป็นโรคมาลาเรียที่เกิดในลิง long-tailed and pig-tailed macaques ถ่ายทอดมายังคนโดยยุงก้นปล่อง เชื้อมาเลเรียชนิดนี้มีความสำคัญ เนื่องจากมีรอบการแบ่งตัวสั้นที่สุดในบรรดาเชื้อมาเลเรียทั้งหมด ทำให้มีเชื้อในกระแสเลือดจำนวนมาก (hyper-parasitaemia) ในเวลาสั้นๆซึ่งอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือเสียชีวิตได้ ปัญหาการระบาดของโรคมาลาเรีย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ชายแดน ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษและต่อเนื่อง ด้านผู้ป่วยกลุ่มชาวต่างชาตินั้นก็ยังจำเป็นที่ต้องมีมาตรการเพิ่มความเข้มงวดในด้านนโยบายการควบคุมแรงงานต่างชาติพร้อมกับดำเนินการอย่างสม่ำเสมอสำหรับการพบผู้ป่วยติดเชื้อชนิด P. knowlesiควรจะต้องสอบสวนโรคทุกราย เพื่อหาแหล่งโรคและพื้นที่ที่ติดเชื้อ มีการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการอย่างมีระบบ และสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ทีมแพทย์ผู้รักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งทั้งหมดเป็นหน้าที่ของทุกฝ่าย โดยตำบลบาโหยมีการพัฒนา อสม.เป็นทีมนักสื่อสารโรคมาลาเรีย และพัฒนานักสื่อสารโรคมาลาเรียเป็น อาสาสมัครมาลาเรียชุมชน (MP) ในปัจจุบัน โดยสรุปแล้วในตำบลบาโหยโรคไข้มาลาเรียเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แนวชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคไข้มาลาเรีย มีแรงงานต่างชาติอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาหางานทำ ประกอบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนมีอาชีพเสี่ยงต่อการรับเชื้อไข้มาลาเรีย รวมถึงมีการส่งเสริมการประกอบอาชีพปลูกยางพาราในพื้นที่ที่ไม่มีไข้มาลาเรียเป็นการทำให้สภาพพื้นที่เหมาะสมสำหรับยุงพาหะ และเมื่อมีการเคลื่อนย้ายของกลุ่มประชากรจากพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรียเข้ามาในพื้นที่ การมีมาตรการที่เหมาะสมในการเข้าจัดการกับพื้นที่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ การวางแผนดำเนินการประสานงานความร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) องค์กรเครือข่ายผู้นำในหมู่บ้าน องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสารและปฏิบัติงานร่วมกันเมื่อเกิดพบปัญหาในหมู่บ้านจัดทีมนักสื่อสารมาลาเรีย ตั้งคลินิกมาลาเรียในชุมชน 5 แห่ง ใน5 หมู่บ้าน ให้การตรวจวินิจฉัยรักษาในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ตามแนวชายแดนพื้นที่ทุรกันดารการคมนาคมไม่สะดวกห่างไกล ค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อตลอดทั้งปี (A๑) และพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อบางฤดูกาล (A ๒) และคงกิจกรรมเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ (B1, B2) เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดเป็นปัญหารุนแรงในพื้นที่ได้สำเร็จในห้วงเวลาที่ผ่านมา
ทำให้สถานการณ์แนวโน้มของโรคไข้มาลาเรียลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งสอดคล้องกับโครงการมาลาเรียโลก (Global Malaria Program) ที่มุ่งสู่การกำจัดโรคไข้มาลาเรีย ในพื้นที่ที่มีอัตราการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียน้อยกว่า 1 ต่อประชากรพันคน เพื่อให้การกำจัดไข้มาลาเรียเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสาธารณสุขทั่วไป สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 -2579) ที่เน้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ ประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรีย พ.ศ.2560 – 2569 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยปลอดจากโรคไข้มาลาเรีย (Malaria elimination)ในปี 2567” โดยเป้าหมายในปี 2564 มากกว่าร้อยละ 95 ของอำเภอไม่มีการแพร่เชื้อ และในปี 2567 ทุกอำเภอปลอดจากการแพร่เชื้อมาลาเรีย
เหตุนี้จึงจำเป็นต้องพัฒนานักสื่อสาร และ MP ในพื้นที่ให้มีศักยภาพเพื่อสร้างความสำเร็จที่ยั่งยืนต่อไป โดยเฉพาะการมีชุดสนับสนุนการทำงานใน MP ชุมชน 5 แห่งและเร่งสร้างกิจกรรมสื่อสารชุมชนให้เข้มข้นยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่ อบต.บาโหย และ รพ.สต.บาโหย ผู้แทน อสม. ผู้แทน PM/นักสื่อสาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย หน่วยควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 6 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา และองค์กรพัฒนาเอกชนบ้านสุขสันต์ ได้ประชุมตกลงกันพัฒนาตามยุทธศาสตร์กองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ และกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของอำเภอสะบ้าย้อยเพื่อการกำจัดโรคไข้มาลาเรียอย่างยั่งยืน อนึ่งโครงการนี้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานกำจัดมาลาเรียภาคประชาชนตำบลบาโหยได้รับการนำเข้าเสนอพิจารณาในกองทุนฯ ในเบื้องต้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 แต่อยู่ในห้วงปลายการดำเนินงาน จึงนำมาพิจารณาในปีงบประมาณ 2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการสื่อสารโรคมาลาเรียในชุมชน

นักสื่อสารมาลาเรีย ผ่านการประเมินกิจกรรมในชุมชน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90    เป้าหมาย – นักสื่อสารมาลาเรีย จำนวน 20 คน

20.00 18.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ MP ในพื้นที่ตำบลบาโหย

MP มีเครื่องมือและจัดบริการได้ตามศักยภาพ ร้อยละ 100    (5แห่ง)

5.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 จัดเตรียมเอกสารและวัสดุ 0 6,000.00 -
1 เม.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 การจัดการข้อมูลและพัฒนาประจำเดือนของmp 0 1,000.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น 0 8,000.00 -

-รวบรวมข้อมูล จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย -ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา MP และปรับปรุงบ้านให้เป็นจุดบริการ -จัดหาวัสดุ เครื่ีองมือ แลัสื่อ ที่จำเป็นในการบริการชุมชนให้เหมาะสม ทันเวลา และเพียงพอ -ประชุมพัฒนางานภายในตำบลให้สอดคล้องกับแนวทางของอำเภอ และจังหวัด -ดำเนินงานใน MP ตรวจมาลาเรีย สื่อสารชุมชน สนับสุนนการควบคุมโรค เช่น มุ้งชุบสารเคมี แปลป้องกันไข้มาลาเรีย และติดตามประเมินการสื่อสารชุมชน -สื่อสารชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชน สำรวจการใช้มุ้งในพื้นที่ และดำเนินการรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ให้ความรู้ แก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ -เจาะเลือดมาลาเรียเชิงรุกในพื้นที่ สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยควบคุมโรคนำโดยแมลง -ฝึกหัดพัฒนาทักษะการดำเนินงานของ MP ในศูนย์ระบาดวิทยาประจำตำบล (รพสต.) -รายงานผลโครงการแก่กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีเข้มแข็งของในการจัดการสื่อสารโรคมาลาเรียอย่างยั่งยืน
  2. MP มีศักยภาพ ในการจัดบริการคัดกรองโรคไข้มาลาเรียอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2563 10:55 น.