กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชน ป้องกันและควบคุม สู้ภัยโควิด 19 ในเขตพื้นที่ ศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์
รหัสโครงการ 63-L7250-02-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ (นางทัศนีย์ มัสนุช) ตำแหน่ง ประธานอสม.ชุมชนเก้าเส้ง
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางทัศนีย์ มัสนุช) ตำแหน่ง ประธานอสม.ชุมชนเก้าเส้ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่เข้าสู่สภาวการณ์ระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) สำหรับประเทศไทยการแพร่ระบาดได้กระจายลงสู่ระดับพื้นที่อย่างกว้างขวาง ทำให้รัฐบาลต้องประกาศมาตรการรับมือที่เข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ไปจนถึงระดับหมู่บ้าน และชุมชนในเขตเมือง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ให้ความเห็นเรื่องการรับมือกับสถานการณ์โควิด 19 ให้สามารถดำเนินการได้บรรลุผลต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน ที่มีความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ ข้อมูล วิธีการปฏิบัติตน เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างพลังทางสังคม พลังความรู้ และพลังของรัฐ ที่จะทำให้เกิดข้อตกลงมาตรการทางสังคมที่จะสนับสนุนมาตรการด้านการดูแลสุขภาพ อาทิเช่น การเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง การส่งต่อข้อมูลความรู้ ข่าวสาร การระดมทรัพยากรเพื่อหนุนช่วยการดูแลรักษา การหาแนวทางการดูแลคนในชุมชน สังคม
ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อ ประเทศทั่วโลก 1,853,217 ราย เสียชีวิต 114,250 ราย รวมถึงประเทศไทยขณะนี้มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,613 ราย ผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ 34 ราย เสียชีวิต 41 ราย ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสะสม 34,848 ราย เฝ้าระวังรายใหม่ 62 ราย ข้อมูลเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 (กรมควบคุมโรค,กระทรวงสาธารณสุข, 2563) ในจังหวัดสงขลา ผู้ป่วยยีนยันสะสม 56 ราย ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรค 594 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 26 ราย ยังรักษาตัวอยู่ใน รพ. 30 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต และไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ เป็นเวลา 9 วัน ตั้งแต่วันที่ 5-13 เม.ย.63 (สำนักงานสาธารณสุขสงขลา) อำเภอเมืองสงขลามีผู้ที่เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรค 45 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย รักษาหายแล้ว มีผู้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ อ.เมืองสงขลา 928 ราย ตำบลเขารูปช้างสูงสุด 248 ราย ตำบลบ่อยาง 224 ราย อยู่ระหว่างเฝ้าระวัง 53 ราย ครบระยะเฝ้าระยะ 14 วัน 171 รายประกอบกับในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2563 พื้นที่ศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ ได้ดูแลเฝ้าระวัง ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน จำนวน 64 ราย ครบ 14 วัน และติดตามต่อเนื่องอีกจำนวน 7 ราย คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงซึ่งเดินทางค้าขาย และทำอาชีพประมงซึ่งไม่ผ่านระบบทางราชการในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาได้รับแจ้งจาก อสม. โดยตรง จำนวน 22-25 ราย จึงคาดการณ์กลุ่มเสี่ยงโควิ 19 ที่ต้องเฝ้าระวังจำนวน 30 ราย ในช่วงเดือน พฤษภาคม – กันยายน 2563 ไว้ตามลำดับ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวังโรค และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
  1. ร้อยละ 100 ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตามเยี่ยมที่บ้านครบ 14 วัน
0.00
2 2. เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานและชุมชน
  1. เกิดแนวทางป้องกันควบคุมและแก้ไขปัญหา โรคโควิด 19 ในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ขั้นวางแผน 1.1 ร่วมกันประชุมวางแผน, กำหนดกลุ่มเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย, เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
  2. จัดทําโครงการเพื่อขอนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
  3. วิธีดำเนินการ 3.1 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.2 จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงาน 3.3 จัดเตรียมป้ายไวนิล 3.4 จัดเตรียมเอกสารโครงการ 3.5 ดำเนินการจัดประชุม แลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโควิด-19 ในชุมชน ร่วมกับเจ้าหน้าที่,  อสม. และแกนนำในชุมชน
  4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
  5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อสม.แกนนำมีความตระหนักในบทบาทและสร้างคุณค่าของการป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 ในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2563 10:39 น.