กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวังเพื่อสังเกตการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง
รหัสโครงการ 63-L5261-5-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลท่าพระยา
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุรพร โต๊ะสมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "โรคอู่ฮั่น" ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ มีความรุนแรงเทียบเท่ากับโรคซาร์สมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก ยังไม่สามารถหาที่มาของเชื้ออย่างชัดเจนได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากเนื้อสัตว์ป่าที่ซื้อขายอยู่ และปัจจุบันเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้แล้ว จากการถูกไอ จาม หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งของคนที่ป่วย จากสถานการณ์ทั่วโลกใน 17 ประเทศ และ 2 เขตปกครองพิเศษ ข้อมูล ตั้งแต่ 5 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 29 มกราคม 2563 พบผู้ป่วย 6,066 ราย ส่วนประเทศจีน ข้อมูล ณ วันที่ 27 มกราคม 2563 พบผู้ป่วย 5,974 ราย เสียชีวิต 132 ราย ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคปอดติดเชื้อจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในหลายประเทศสร้างความกังวลให้กับประชาชน จากข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2563 ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข รายงานจำนวนผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อในประเทศไทย เพิ่มขึ้น 7 ราย ทำให้จำนวนสะสมอยู่ที่ 2,938 ราย ในจำนวนนี้ 2,652 ราย รักษาหายแล้ว และ 232 ราย ยังคงรับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีผู้เสียชีวิต 54 ราย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำลท่าพระยา ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ถึงแม้ยังไม่มีรายงานว่าผู้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสะบ้าย้อย แต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่กลับจากพื้นที่เสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเพื่อสังเกตการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 28 เมษายน 2563 จำนวน 259 ราย และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแนวทางมาตรการการควบคุมป้องกันการระบาดในพื้นที่จึงต้องดำเนินการจัดเตรียมสถานที่ควบคุมและสังเกตอาการ( Local Quarantine) ประจำเทศบาลตำบลท่าพระยา เป็นเวลา 14 วัน และขณะนี้ในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊เทศบาลตำบลท่าพระยา ได้มีการปิดพื้นที่ห้ามเข้า – ออกในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และได้จัดตั้งเวรตรวจคัดกรองในจุดดังกล่าว เพื่อไม่ให้ประชาชนในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีการเข้า – ออก โดยเด็ดขาดและเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นอีกด้วย
ดังนั้น เทศบาลตำบลท่าพระยา จึงเห็นความสำคัญของปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ จึงขอดำเนินโครงการเฝ้าระวังเพื่อสังเกตการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง โดยดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความตระหนักในการป้องกันสุขภาพของประชาชน อาศัยการดำเนินงานส่วนร่วมของหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 100,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการเฝ้าระวังเพื่อสังเกตการฯ 0 100,000.00 -

1 วางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 2 ประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงลงทะเบียนการเข้าพัก ณ จุดประสานงาน 3 จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง 4 ประชาชนที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงเข้าที่พักใช้ชีวิตตามระเบียบปฏิบัติ ตรวจวัดไข้ อาการป่วยรายวัน ประชาชนที่เข้าข่ายส่งต่อไปยังโรงพยาบาล ถ้าไม่เข้าข่ายให้เฝ้าระวังอาการรายวันครบ 14 วัน 5 ประชาชนเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังครบ 14 ลงทะเบียนออก เดินทางกลับบ้าน
6 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สามารถดูแลและควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการ ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย 2 สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยมีหลักการในการแยกประเภทเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และแนะนำการกักกัน/แยกกัก 3 ลดความหวาดวิตกต่อสถานการณ์การระบาดของโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2563 09:06 น.