โครงการให้ความรู้เชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ปี 2563 รพ.สต.บ้านกูบู
ชื่อโครงการ | โครงการให้ความรู้เชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ปี 2563 รพ.สต.บ้านกูบู |
รหัสโครงการ | 63-L2486-1-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู |
วันที่อนุมัติ | 16 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 25 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 3,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางน้ำฝน พรหมน้อย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.29351622,101.9573133place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 38 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพ หรือสุขภาวะ คือ ภาวะที่เป็นสุข ภาวะแห่งความเป็นปกติของชีวิตด้านกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตั้งแต่เกิด ดำรงชีวิต เจ็บป่วย และตาย ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและสังคม ดังนั้นการดูแลสุขภาพจึงควรดูแลแบบองค์รวมทั้งด้านวิถีชีวิตและวิธีคิด เพื่อให้เกิดความมั่งคงด้านสุขภาพ รวมถึงไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย ล้มตาย สูญเสีย ทุกข์ทรมาน หรือมีความเสี่ยงต่อสิ่งเหล่านี้โดยไม่จำเป็น เพราะอาการเหล่านี้จะบ่งบอกถึงความเบี่ยงเบนของสังคมที่แวดล้อมชีวิต ความเป็นอยู่ของคน ด้วยเหตุดังกล่าว ประชาชนต้องการความคิดใหม่และจินตนาการใหม่เกี่ยวกับสุขภาพ จึงสามารถสร้างสุขภาพได้ ความคิดเก่าและจินตนาการเก่าไม่สามารถสร้างสุขภาพได้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เมื่อนึกถึงคำว่า “สุขภาพ” ประชาชนมักมองเห็นภาพโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และยา เท่านั้น ระบบสุขภาพแบบเดิมจึงเป็นระบบตั้งรับ คือ รอให้คนสุขภาพเสียหรือเจ็บป่วยเสียก่อนแล้วค่อยมาโรงพยาบาล สังคมสนใจแต่การทุ่มทรัพยากรในการสร้างโรงพยาบาลให้เพียงพอ แต่ก็ไม่เพียงพอกับคนที่ป่วยที่นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถแก้วิกฤติทางสุขภาพได้ แนวคิดใหม่และจินตนาการใหม่ จึงต้องเป็นการร่วมคิด ร่วมสร้างสุขภาพ เป็นกระแสทางบวกที่สามารถนำไปสู่การมีสุขภาพดีได้ เพราะการสร้างสุขภาพถือเป็นกลไกและมาตรการสำคัญในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไทยให้มีสุขภาวะ โดยใช้กระบวนการสร้างนำซ่อมสุขภาพ ที่เรียกว่า “ระบบสุขภาพชุมชน” การดูแลระบบสุขภาพชุมชน กระทรวงสาธารณสุขได้มีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบมาโดยตลอดทุกปี ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้นำกระบวนการสาธารณสุขมูลฐาน มาใช้เป็นกลวิธีในการพัฒนาสุขภาพชุมชน ดังนั้น อสม.ควรผ่านการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ ของ อสม.ในการปฎิบัติงาน
|
0.00 | |
2 | เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน 2.อสม.ได้รับความรู้และสามารถฝึกปฎิบัติได้ ร้อยละ 70 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 38 | 3,800.00 | 1 | 3,800.00 | 0.00 | |
1 - 31 ส.ค. 63 | จัดกิจกรรมให้ความรู้ อสม.และฝึกทักษะด้านต่างๆที่ อสม.ควรปฎิบัติได้ | 38 | 3,800.00 | ✔ | 3,800.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 38 | 3,800.00 | 1 | 3,800.00 | 0.00 |
1.จัดกิจกรรม อสม. และฝึกปฎิบัติ ดังนี้ 1.1 ฝึกปฎิบัติการใช้เครื่องวัดความดันที่ถูกต้อง 1.2 ฝึกปฎิบัติการเจาะเลือดเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน 1.3 ฝึกปฎิบัติการลงข้อมูลน้ำหนักเด็กในสมุดสีชมพูและการประเมินภาวะทุพโภชนาการ 2.ให้ความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ติดบ้าน 3.ให้ความรู้หลักการควบคุมโรคระบาดในพื้นที่ การแจ้งข้อมูลการเกิดโรคระบาด
- อสม.มีความรู้ความสามารถเป็นผู้นำในการสร้างสุขภาพให้แก่ชาวบ้านในชุมชนได้
- อสม.มีศักยภาพในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมการสร้างสุขภาพในชุมชนได้เป็นอย่างดี
- อสม.ให้ชุมชนสามารถจัดการกับระบบสุขภาพของชุมชนได้อย่างเหมาะสมด้วยตัวชุมชนเองเพื่อนำไปสู่การปฎิบัติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2563 15:19 น.