กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนใส่ใจป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2486-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(รพ.สต.บ้านกูบู)
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 15 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2563
งบประมาณ 24,370.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรีซาน มะมิง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.29351622,101.9573133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1082 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เป็นโรคติดต่ออันตรายที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบการระบาดในฤดูฝน แต่สามารถพบได้ตลอดทั้งปี พบมากในเด็กอายุระหว่าง 5 – 14 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยตลอดเวลา หน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม ซึ่งถ้าป่วยแล้วทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก และถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้   ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ 5 บ้านเกาะสวาด หมู่ 6 บ้านกูบู หมู่ 7 บ้านโคกยามู หมู่ 8 บ้านสะปอม และหมู่ 10 บ้านบึงฉลาม เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกทุกประเภทมีแนวโน้มการระบาดของโรค ปีเว้น 1 ปี โดยปีที่มีการระบาดสูงสุดในรอบ 10 ปี คือ ปี 2553 พบผู้ป่วยจำนวน 31 ราย คิดเป็นอัตรา 529.94 ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นปีที่เป็นรอบของการระบาด และในปี 2562 เป็นรอบของการระบาด พบผู้ป่วยจำนวน 11 ราย คิดเป็นอัตรา 182.66 ต่อแสนประชากร (อัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร) ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
  ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้เห็นความสำคัญถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน

0.00
2 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนักถึงปัญหา สาเหตุ และร่วมดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

มีกิจกรรมสำรวจลูกน้ำทุกบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/หมู่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนักถึงปัญหา สาเหตุ และร่วมดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 เม.ย. 63 - 15 ก.ย. 63 กิจกรรมสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 0.00 24,370.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. อสม.และประชาชน ร่วมกันสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
  2. อสม.เฝ้าระวังโรคในพื้นที่ พร้อมแจ้งข้อมูลสงสัยโรคติดต่อในพื้นที่ให้ เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อสำรวจข้อมูลข่าว และลงควบคุมโรคได้ทันเวลา
  3. ความคุมโรคในโรงเรียนโดยการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและพ่นหมอกควันก่อนโรงเรียนเปิดเรียน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2563 15:23 น.