เฝ้าระวังและป้องกันควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | เฝ้าระวังและป้องกันควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 63-L3359-1-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาแดง |
วันที่อนุมัติ | 31 มกราคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 7 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 105,160.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.652,100.107place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รพ.สต.บ้านเขาแดง ปี 2560 มีผู้ป่วยจำนวน 63 ราย ปี 2561 มีผู้ป่วยจำนวน 3 ราย ปี 2562 มีผู้ป่วยจำนวน 14 ราย การควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว
ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน วัด ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ เทศบาลตำบลพญาขัน โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่นๆร่วมกันดำเนินงานตามแผนงานของโครงการ
- ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดยุงลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์
- รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดยุงลาย โดยวิธี 3.1 ทางกายภาพ รณรงค์ให้ชุมชน โรงเรียน ร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและโรงเรียน 3.2 ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในภาชนะน้ำใช้ในครัวเรือน วัด และโรงเรียน สถานที่ราชการ และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย 3.3 ทางชีวภาพ สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอม การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง 3.4 เมื่อมีผู้ป่วยในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จะดำเนินการพ่นหมอกควัน และแจกสเปรย์พ่นยุง และยาทาโลชั่น แก่บ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียงกับบ้านของผู้ป่วย 4. ติดตามและประเมินผลในเดือน สิงหาคม – กันยายน 2563
ไม่มีผู้ป่วยในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2563 13:27 น.