กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอ
รหัสโครงการ 63-L3332-4-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอ
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 112,702.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุรีภรณ์ คงชุม/ผู้ช่วยเลขานุการกองทุนฯ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
74.00
2 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
21.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕61 ข้อ 10 (๔) เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับเงินเพิ่มจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน ที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ร่วมเป็นเจ้าของและร่วมกันบริหารจัดการกองทุน คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ มีวิสัยทัศนคติเชิงบวกต่อการดำเนินงานกองทุนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเสมอภาค เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นร่วมตัดสินใจ มีการตรวจสอบและให้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการอยู่แล้ว
แผนสุขภาพชุมชน หมายถึง แผนงานด้านสุขภาพของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน เป็นกระบวนการที่ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมเรียนรู้ ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและร่วมรับผลประโยชน์ โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การทบทวนงานในอดีตเพื่อกำหนดอนาคต การสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา การประเมินศักยภาพของชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเอง โดยคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผลโดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้ และเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆด้านที่ผสมผสานกัน อันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุกรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีการดำเนินงานในหลายวิธี และใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงได้จัดโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือน ม.ค. จำนวนร้อยละ 60 และภายใน เดือน ก.ค.61 ร้อยละ 90
74.00 20.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

21.00 21.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 112,702.00 0 0.00
5 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ 0 31,200.00 -
5 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม/อบรม/สัมมนา ของคณะกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ 0 15,000.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานกองทุนฯ 0 10,000.00 -
12 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 0 6,500.00 -
12 มิ.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก สำหรับงานสำนักงาน 0 16,000.00 -
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ 0 16,426.00 -
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 จัดอบรมการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและแผนปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 0 17,576.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอมติเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนฯ       2. ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ 4 ครั้ง/ปี
    1. ดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ 2 ครั้ง/ปี
          4. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ และผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ
    2. จัดอบรมการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและแผนปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
    3. จัดซื้อวัสดุสำนักงานในการดำเนินงานกองทุน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
    1. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนฯ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
    2. คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน
    3. กองทุนฯ มีแผนพัฒนาสุขภาพและแผนปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารกองทุนฯ
    4. กองทุนฯ มีวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานที่จำเป็นและเพียงพอต่อการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2563 16:29 น.