กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านนา รวมพลัง ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5184-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 2 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 125,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลฮาเล็ม เปาะอีแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ในปัจจุบันการระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงเป็นปัญหามากขึ้น เนื่องจากสภาวะโลกร้อน ประเทศไทยซึ่งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนจึงได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์นี้โดยตรง โดยพบว่ามีการระบาดของโรคที่นำโดยแมลงในทุกๆปี โดยเฉพาะไข้เลือดออก นับว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขอย่างมาก นับตั้งแต่มีการระบาดของโรคครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2501 โดยเริ่มต้นที่กรุงเทพมหานคร แล้วแพร่กระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ต่อจากนั้นก็มีรายงานผูู้ป่วยทุกปี โรคไข้เลือดออกแพร่กระจายอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันพบว่า มีรายงานผู้ป่วยจากจังหวัดต่างๆ ทั้งในเขตเมือง และเขตชนบททั่วประเทศ อัตรา อุบัติการณ์ของโรคสูงขึ้นมาโดยตลอด นอกจากนี้ได้มีการแพร่กระจายของโรคไปทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น การคมนาคมสะดวก โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่มียุงลายบ้านเป็นพาหะหลัก โรคนี้ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย สร้างความสูญเสียมากมายต่อเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย และยังกระทบสังคมในวงกว้าง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดของตำบลบ้านนา 5 ปี ย้อนหลัง พ.ศ.2558,2559,2560,2561 และ 2562 พบว่า อัตรา 239.05ม891.54,212.63,97.22 และ 66.84 ต่อประชากรแสนคน (งานระบาดวิทยา สสอ.จะนะ) ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดจะต้องไม่เกิน 50 ต่อแนประชากร และต้องลดลง 20% ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบางปีอัตราป่วยยังสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดอยู่มาก ในการดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคติดต่อ คือ การป้องกันโรคล่วงหน้าซึ่งต้องดำเนินการก่อนการเกิดโรค หากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมโรคจะทำได้ลำบากและสูญเสียงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและบริเวณใกล้เคียงเป็นวิธีที่ดีที่สุด และการจัดการที่ต้องมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลจะนะ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการชาวบ้าน รวมพลัง ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการกับปัญหาโรคไข้เลือดออกของชุมชนเอง ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลบ้านนาไม่ให้เกินเป้าหมายที่กำหนด

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของตำบลบ้านนา ลดลงเหลือไม่เกิน 50 ต่อประชากร แสนคน

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือด

ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากกว่าร้อยละ 90

0.00
3 3.เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมตามหลัก3เก็บ3โรค

เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า Cl ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10 และในโรงเรียนเท่ากับ 0

0.00
4 4.เพื่อสร้างความร่วมมือ และส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อต่างๆ

ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและชุมในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อต่างๆมากกว่าร้อยละ90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 125,675.00 0 0.00
2 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 1. มหกรรมรณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกในชุมชนโรงเรียน และศาสนสถาน ดังนี้ 0 42,375.00 -
2 มี.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 2. จัดซื้อวัสดุอื่นๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมรณรงค์ 0 83,300.00 -

ขั้นเตรียมการ

1.ประชุมชี้แจงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยเทศบาลตำบลจะนะ ตัวแทน สสอ.จะนะ ผู้นำชุมชน ตัวแทนโรงเรียนแกนนำอสม.และผู้มีจิตอาสา โดยเสนอสถานการณ์ระบาดโรคไข้เลือดออกและรดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหารวมทั้งกำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรม

2.จัดตั้งคณะทำงาน

3.เขียนโครงการนำเสนอขออนุมัติ

4.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สถานที่และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

5.ประัสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่่กี่ยวข้อง

6.ประชาสัมพันธ์โครงการ

7.ประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆก่อนการดำเนินงาน

ขั้นดำเนินการ กิจกรรมที่1 มหกรรมรณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกในชุมชนโรงเรียน และศาสนสถานดังนี้

1.รวมคณะทำงาน/ภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องรับคำชี้แจงจากผู้นำทีมเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามแผนที่วางไว้

2.ทีมงานแยกย้ายกันออกปฏิบัติในพื้นที่เป้าหมายตามแผนที่วางไว้ ดังนี้

-ให้ควาสรู้เรื่องโรคติดต่อต่างๆเช่น โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ตาแดง อุจจาระร่วง เป็นต้น และการเตรียมความพร้อมของบ้านและสถานที่ต่างๆกรณีมีการพ่นควบคุมโรคไข้เลือดออก

-สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

-ร่วมปฏิบัติการปรับปรุงทางกายภาพตามหลัก 3 เก็บ 3 โรค และการคัดแยกขยะ

-แจกทรายอะเบทและเอกสารแผ่นพับโรคติดต่อต่างๆเช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรงตาแดง เป็นต้น

-ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง ได้แก่ ตะไคร้หอม สะระแหน่ เป็นต้น

-ส่งเสริมการเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลาสร้อย เป็นต้น

3.ติดตามประเมิน HI และค่า CL ทุกเดือนตามแบบฟอร์ม

4.รถเทศบาลเก็บขยะตามแผนที่วางไว้

5.หลังปฏิบัติการรวมพลคณะทำงาน/ภาคีเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและหาโอกาสพัฒนาต่อ

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อวัสดุอื่นๆเพื่อใช้ในกิจกรรมรณรงค์ โดยมีวัสดุดังนี้

1.ทรายเคลือบสารเทมีฟอส 1 % (ชนิดบรรจุซองชา 20 กรัม) จำนวน 4 ถัง

2.โลชั่นทากันยุงขนาด 8 ml. จำนวน 200 ซอง

3.สเปรย์ป้องกันยุง ขนาด 300 ml. จำนวน 360 กระป๋อง

4.ผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดยุง อะควา เค-โอทรีน จำนวน 2 ลิตร

5.ผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดยุง เดลตาไซด์ จำนวน 2 ลิตร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่
  2. กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่
  3. กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้สมุนไพรในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  4. ค่า Hi และ Ci ลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนด
  5. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของเทศบาลตำบลบ้านนาลดลง
  6. กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับดีขึ้นไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2563 00:00 น.