กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ยิ้มสู้โรคโควิด เฝ้าระวังพิษโรคร้าย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.สะดาวา
วันที่อนุมัติ 13 พฤษภาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 พฤษภาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2563
งบประมาณ 150,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจัสมิล มุมินรุ่งเรืองเดช
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูฮัมหมัดนาเซร์ ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ของจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ โดยขณะนี้มีผู้ติดเชื้อในจังหวัดปัตตานี เพียง 2 ราย และมีแนวโน้มรักษาหายจนไม่เหลือผู้ติดเชื้อในจังหวัดปัตตานีอีกในไม่ช้า แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคจะเข้าสู่ภาวะปกติ ภาครัฐและภาคประชาชนก็ยังไม่สามารถนิ่งเฉยต่อสถานการณืดังกล่าว ควรมีมาตรการเพื่อป้องกันการระบาดเพิ่ม ด้วยเหตุนี้ การกักตัวเพื่อเฝ้าระวังอาการกลุ่มเสี่ยงจึงยังคงดำเนินต่อไป จนกว่าสถานการณ์จะปกติ
การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) นั้น นอกจากการให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่แล้ว การรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักและการสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับป้องกันโรคนับเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองและกักบริเวณในสถานที่ควบคุมบริเวณ (Local Quarantine) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้การกักตัวของกลุ่มเสี่ยงมีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดแคลนอุปกรณืที่จำเป็นดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลสะดาวา ซึ่งรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่ให้แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันดรคและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้ทันต่อ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โดยจัดทำโครงการยิ้มสู้โรคโควิด เฝ้าระวังพิษโรคร้าย ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ได้กักบริเวณเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ได้กักบริเวณเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

15 พ.ค. 63 - 15 มิ.ย. 63 กิจกรรมสนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคสำหรับ Local quarantine 0.00 43,519.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

การจัดเตรียมสถานที่ควบคุมและสังเกตอาการประจำตำบลสะดาวา (Local Quarantine) และอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่อบต. สะดาวา ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
  2. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2563 09:39 น.