กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจเยี่ยมร้านจำหน่ายอาหาร
รหัสโครงการ 63-L7574-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 3,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวภัทรียา บุญน้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,100.073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 พ.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 3,250.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 3,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้จำหน่ายอาหารและผู้ช่วยจำหน่ายอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร
5.00
2 จำนวนร้านที่ตรวจสุขาภิบาลอาหาร
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต อาหารช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย และทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ แต่ในขณะเดียวกันอาหารอาจก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกายได้ สาเหตุ    ประการหนึ่ง คือ การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนจุลินทรีย์ โดยเฉพาะจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคได้ เช่น Staphylococcus aureus , Vibrio Cholerae , Salmonallae , Shigella , Escherichia coli เป็นต้น ซึ่งเชื้อก่อโรคจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ไม่สะอาด การที่อาหารจะสะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคนั้น มีสิ่งที่จะต้องควบคุม ๓ ประการ ได้แก่ วัตถุดิบ อุปกรณ์ และที่สำคัญที่สุด คือ ผู้สัมผัสอาหาร เพราะผู้สัมผัสอาหารเป็นผู้ที่นำวัตถุดิบมาประกอบเป็นอาหาร หากผู้สัมผัสอาหารประกอบอาหารไม่สะอาดเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และเมื่อผู้บริโภครับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคก็อาจเกิดอาการ ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว อ่อนเพลีย ในรายที่รุนแรงอาจถึงแก่ชีวิตได้ ในปัจจุบันพบว่าประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น ธุรกิจร้านอาหารจึงเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งหากผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาหารให้สะอาดปลอดภัยแก่ผู้บริโภคแล้ว ก็ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ ซึ่งการการจัดอบรมผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารที่ผ่านมาผู้ประกอบการมักจะไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ตลอดการอบรม เนื่องจากต้องอยู่ประจำร้าน ซึ่งหากเทศบาลจัดเจ้าหน้าที่ลงตรวจประเมินพร้อมให้ความรู้ถึงร้านจำหน่ายอาหารก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาร่วมอบรม และได้รับความรู้ ในการปรับปรุงร้านให้ถูกสุขลักษณะ ดังนั้น เพื่อยกระดับร้านจำหน่ายอาหารให้มีมาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้ ประชาชนที่มาใช้บริการร้านอาหารในเขตเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงเสนอจัด “โครงการตรวจเยี่ยมร้านจำหน่ายอาหาร” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้จำหน่ายอาหารและผู้ช่วยจำหน่ายอาหาร

ผู้จำหน่ายอาหารและผู้ช่วยจำหน่ายอาหารมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 80

10.00
2 เพื่อตรวจสุขาภิบาลอาหารร้านจำหน่ายอาหาร

ร้านจำหน่ายอาหารได้ตรวจสุขาภิบาลอาหารร้านจำหน่ายอาหารร้อยละ 100

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 20 3,250.00 1 0.00
12 พ.ค. 63 - 30 ส.ค. 63 กิจกรรมย่อยตรวจเยี่ยมร้านอาหาร 20 3,250.00 -
4 ก.พ. 64 กิจกรรมย่อยตรวจเยี่ยมร้านจำหน่ายอาหาร 0 0.00 -
4 ก.พ. 64 กิจกรรมย่อยตรวจเยี่ยมร้านจำหน่ายอาหาร 0 0.00 0.00

๑. สำรวจร้านจำหน่ายอาหารในพื้นที่เทศบาล ๒. เขียนโครงการนำเสนอเพื่อขออนุมัติ ๓. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในโครงการ ๔. ดำเนินการออกเยี่ยมร้านจำหน่ายอาหารพร้อมตรวจประเมินร้านและให้ความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลร้านจำหน่ายอาหาร ๕. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายร้านจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์ให้ประชาชนทราบ ๕. สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารมีความรู้ความเข้าใจตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ๒. ร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลผ่านเกณฑ์สุขาภิบาลอาหาร ๓. ผู้ที่มาใช้บริการร้านอาหารในเขตเทศบาลได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2563 13:45 น.