กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์โรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปี พ.ศ.2563
รหัสโครงการ 63-L3333-02-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 12,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพนมยงค์ ดำช่วย
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ขยะของโรงเรียนวัดแหลมดินสอพบว่า มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ซึ่งในการดำเนินการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยของโรงเรียนที่ผ่านมา ทางโรงเรียนได้ดำเนินการให้นักเรียนแยกขยะเป็น 3 ปะเภท คือ 1.ขยะที่สามารถขายเป็นเงินได้ เช่น กระดาษ ขวดน้ำพลาสติก 2. ขยะมูลฝอยทั่วไปและขยะอันตรายที่เก็บขนโดยรถของเทศบาล และ 3. ขยะอินทรีย์ จำพวก หญ้า ใบไม้ และเศษอาหารจากจากโรงอาหารและของเหลือกิน ซึ่งขยะเหล่านี้โรงเรียนต้องดำเนินการกำจัดเอง โดยไม่มีการจัดการที่เหมาะสม หรือมีการกำจัดที่ไม่ถูกต้อง โดยการเททิ้งใต้ต้นไม้บ้าง ทิ้งเรี่ยราดลงในคูระบายน้ำบ้าง ทำให้คูระบายน้ำอุดตัน และขยะจำพวกอาหารเกิดการบูดเน่า ส่งกลิ่นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน เป็นที่บ่มเพาะเชื้อโรค สัตว์คุ้ยเขี่ย ซึ่งถ้าโรงเรียนมีวิธีการจัดการที่ดีอย่างเป็นระบบ จะพบว่าปริมาณขยะมูลฝอยชนิดนี้ถ้าสามารถจัดการนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะทำให้ขยะอินทรีย์จะมีปริมาณลดลง และนำไปใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น
จากปัญหาดังกล่าวโรงเรียนวัดแหลมดินสอ จึงได้คิดหาวิธีการแก้ปัญหาจากการเน่าเสียของขยะอินทรีย์เหล่านี้ให้หมดไปอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์มากที่สุด ประกอบกับโรงเรียนได้จัดทำโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่ออาหารกลางวันอยู่แล้ว จึงได้จัดทำโครงการ “ผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์” นี้ขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง จะทำให้ลดสารปนเปื้อนและมีอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น และนักเรียน ชุมชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ และร่วมมือจัดการขยะอินทรีย์อย่างเหมาะสม และได้ใช้ประโยชน์จากขยะได้สูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

เกิดการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนครูและชุมชน สามารถคัดแยกขยะ กำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างถูกวิธี

นักเรียนครูและชุมชน สามารถคัดแยกขยะ กำจัดขยะอินทรีย์ได้อย่างถูกวิธี

0.00
3 เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ได้

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ได้

0.00
4 เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความตระหนักและลดการใช้สารเคมีในพืชผักต่างๆ

ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความตระหนักและลดการใช้สารเคมีในพืชผักต่างๆ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 306 12,500.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 การประชุมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 153 3,960.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 การคัดแยกขยะ และทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 153 8,540.00 -
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้นักเรียนและผู้สนใจในชุมชนทราบ
  3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่
  4. ดำเนินการตามโครงการ   4.1 ประชุม ชี้แจง ให้ความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีการคัดแยกขยะ การกำจัดขยะที่ถูกวิธี และการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร   4.2 ดำเนินการคัดแยกขยะ และนำขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
  5. สรุปและรายงานผลการดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดแผนงานการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกับชุมชน
  2. โรงเรียนแหล่งเรียนรู้ จากการกำจัดขยะอินทรีย์ที่ถูกวิธี และนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
  3. สร้างการมีส่วนร่วม และเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2563 10:29 น.