กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านเรือนน่าอยู่ หมู่บ้านน่ามอง ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5184-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 149,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเปารี ด่าโอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบัน ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทยมายาวนาน และนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยทุกปีตามอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแหล่งกำเนิดขยะที่สำคัญ และกลายเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้คือ ครัวเรือน ปัญหาที่สำคัญคือ ไม่มีการคัดแยกขยะแต่ละประเภทก่อนทิ้งหรือกำจัด ทำให้ปริมาณขยะสะสมในครัวเรือนมีอัตราเพิ่มขึ้น หากปล่อยปัญหานี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้ร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจังและถูกต้อง อาจจะส่งผลกระทบให้ปัญหาขยะในพื้นที่มีมากขึ้นจนยากที่จะแก้ไข และอาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุโรคได้ การคัดแยกขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือน และลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชน ทำให้ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มีความจำเป็นที่ประชาชนจะช่วยกันร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท และนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป ดังนั้นทางชมรม อสม.ตำบลบ้านนา เล็งเห็นว่าปัญหาขยะสะสมครัวเรือน จะต้องได้รับการแก้ไขโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ให้ชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือนที่ถูกต้อง ตามหลัก 3Rs (Reduce Reuse Recycle) สร้างความตระหนักให้เกิดการปฏิบัติจริง และเป็นตัวอย่างแก่ครัวเรือนใกล้เคียงนำไปปฏิบัติ จึงได้จัดทำโครงการบ้านเรือนน่าอยู่ หมู่บ้านน่ามอง ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการบริหารจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและบิรบทของพื้นที่ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ครัวเรือนข้างเคียงในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดให้ถูกสุขลักษณะในบ้านเรือน/ชุมชน

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดถูกสุขลักษณะในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเอง มากกว่าร้อยละ 90

0.00
2 2. เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี

สามารถลดปริมาณขยะได้มากกว่าร้อยละ 90

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการขยะโดยชุมชน

กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมมากกว่าร้อยละ 90

0.00
4 4. เพื่อเพิ่มมูลค่าของขยะให้กับครัวเรือนในชุมชน

กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เสริมจากการเพิ่มมูลค่าของขยะ

0.00
5 5. เพื่อให้ชุมชนมีครัวเรือนตัวอย่างในการจัดการขยะแก่ครัวเรือนใกล้เคียงในชุมชนนำไปปฏิบัติ

มีครัวเรือนตัวอย่างในการจัดการขยะ แก่ครัวเรือนใกล้เคียงในชุมชนนำไปปฏิบัติ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 149,250.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 1. ประชุม ปรึกษาหารือคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง 0 1,875.00 -
1 เม.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 2. อบรมเชิงปฏิบัติการ 0 92,425.00 -
1 เม.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 3. การติดตามเพื่อประเมินผลครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 0 27,950.00 -
3 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 4. กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ถอดบทเรียน 0 27,000.00 -

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เทศบาลตำบลบ้านนา ตัวแทนครัวเรือน ผู้นำชุมชน แกนนำอสม. และผู้มีจิตอาสา โดยเสนอปัญหาเรื่องขยะและระดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา รวมทั้งกำหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรม 2. จัดตั้งคณะทำงาน 3. เขียนโครงการนำเสนอขออนุมัติ 4. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สถานที่และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 5. ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ประชาสัมพันธ์โครงการ 7. ประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อนดำเนินการ ขั้นดำเนินการ 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ   ภาคทฤษฎี   - ความรู้เรื่องขยะ   - โทษขยะขยะ   - การจัดการขยะด้วยวิธี 3Rs (Reduce Reuse Recycle)
  - การจัดการขยะอันตรายในครัวเรือน   - การจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน   - การเพิ่มมูลค่าของขยะ   ภาคปฏิบัติ   - สาธิตการคัดแยกขยะ   - สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำผลิตภัณฑ์จากขยะ   - สาธิตการทำปุ๋ยจากน้ำหมักชีวภาพ   - สาธิตการกำจัดขยะอินทรีย์ 2. กิจกรรมติดตามเพื่อประเมินผลหลังคาเรือนอย่างต่อเนื่องในชุมชน ดังนี้   - การจัดการขยะอย่างเป็นระบบตามหลัก 3Rs (Reduce Reuse Recycle)
  - การทำผลิตภัณฑ์จากขยะเพื่อกลับมาใช้ใหม่ในชีวิตประจำวันอย่างน้อย 3 ชนิดหรือมากกว่า   - การกำจัดขยะอินทรีย์อย่างถูกต้อง   - การใช้วัสดุในครัวเรือนที่เหลือมาทำปุ๋ยจากน้ำหมักชีวภาพ   - การปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อรับประทานในครัวเรือนอย่างน้อย 5 ชนิด   - การปลูกพืชสมุนไพรไล่ยุงไว้ใช้เองอย่างน้อย 3 ชนิดหรือมากกว่า   - ประเมินการเกิดโรคติดต่อของบุคคลในครอบครัว   - สุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย 3. กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ถอดบทเรียน 4. ประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม 5. ประเมินระดับความพึงพอใจ 6. การติดตามผลการดำเนินงาน 7. สรุปผลโครงการ/รายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ปริมาณขยะในชุมชนลดลง
  2. ประชาชนมีรายได้เสริมจากการเพิ่มมูลค่าของขยะ
  3. ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
  4. ชุมชนมีครัวเรือนตัวอย่างในการจัดการขยะ แก่ครัวเรือนใกล้เคียงในชุมชนนำไปปฏิบัติ
  5. สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครัวเรือนที่บริหารจัดการขยะที่ดี และเป็นตัวอย่างให้กับครัวเรือนใกล้เคียงและชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2563 00:00 น.