กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเกี่ยวกับโรดระบาดต่างๆ ในพื้นที่ กิจกรรมโครงการจัดตั้งศูนย์กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Local Quarantine) ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกี่ยวกับโรดระบาดต่างๆ ในพื้นที่ กิจกรรมโครงการจัดตั้งศูนย์กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Local Quarantine) ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮัมมัดเฟาซัน หะยีนอ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ชำนาญงาน อบต.เปาะเส้ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.511,101.201place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 (COVID-1๙) ในประเทศจีน เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น และต่อมาระบาดไปอีกหลายเมือง ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในทุกมณฑล และยังพบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ทางการจีนรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 63,859 ราย เสียชีวิต 1,380 ราย และพบผู้ป่วยยืนยันนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ จำนวน 582 ราย รวมมีผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวน 67,088 ขณะนี้มีหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยืนยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีน แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 33 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคไวรัสโควิด 19 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคไวรัสโควิด 19 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 14กุมภาพันธ์ 2563)
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล(29)การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนียง จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Local Quarantine) ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ศูนย์กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Local Quarantine) ระดับตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. รายงานข้อมูลศูนย์กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Local Quarantine) ตำบลเปาะเส้ง ให้นายอำเภอเมืองยะลาทราบ ตามหนังสือสั่งการจังหวัด ๒. ประกาศศูนย์กักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Local Quarantine) ตำบลเปาะเส้ง ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.เปาะเส้ง ๓. ขออนุมัติโครงการ ๔. ประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการแผนงานโครงการฯ ๕. ดำเนินการประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการในพื้นที่รับผิดชอบ ๖. จัดเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการกักกันเพื่อสังเกตการณ์เริ่มป่วย (Local Quarantine) ด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ๗. ดำเนินการกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ๘. ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีทรัพยากรในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนสร้างความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  3. สามารถส่งเสริม สนับสนุนและสร้างความตระหนักให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2563 10:13 น.