กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำนวล แป้นเนียม ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 31 ก.ค. 2563 14,950.00
รวมงบประมาณ 14,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากมีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูผนของทุกปี โดยสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศเรื่อยมา   โรคไข้เลือดออกมีรายงานการระบาดในประเทศไทยมานานกว่า 60 ปี ข้อมูลจากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562 ในภาพรวมทั้งประเทศ (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-21 ธันวาคม 2562) มีรายงานผู้ป่วยสะสม จำนวน 126,708 ราย (อัตรป่วยเท่ากับ 191.11 ต่อประชากรแสนคส) มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 132 ราย อัตรราย เท่ากับ 0.20 ต่อประชากรแสนคน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.10 ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อัตราป่วย เท่ากับ 221.16 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา คือ ภาคกลาง(อัตราป่วยเท่ากับ 180.83 ต่อประชากรแสนคน) ภาคใต้(อัตราป่วย เท่ากับ 173.09 ต่อประชากรแสนคน) และภาคเหนือ(อัตราป่วยเท่ากับ 169.86 ต่อประชากรแสนคน) ตามลำดับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในปีนี้พบในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน โดยพบยอดผู้ป่วยสูงสุดในเดือนกรกฎาคม(21.539ราย)   โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-11 กุมภาพันธ์ 2563 พบมีผู้ป่วยสะสมแล้ว 3,283 รายโดยภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ภาคใต้ รองลงมาคือภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตามลำดับ (กรมควบคุมโรค เผยแพร่พยากรณ์โรคฯ ฉบับที่ 249) สำหรับจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ 1 มกราคม-16 ตุลาคม 2562 มีผู้ป่วย จำนวน 879 ราย คิดมีอัตราป่วย 167.44 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นอันดับที่ 22 ของประเทศ อำเภอเมืองพัทลุง มีผู้ป่วยทั้งหมด 310 คน คิดเป็นอัตรป่วย 255.44 ต่อแสนประชากร เป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัด รองจากอำเภอตะโหมด (สำนักงานป้องกันควบคุมดรคที่ 12 สงขลา.2562) ซึ่งจากข้อมูลของศูนย์ระบาดอำเภอบางแก้ว พบว่าตั้งแต่ปี 2559 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะเดื่อ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2 ราย (อัตราป่วย 187.44 ต่อประชากรแสนคน) และในปี 2560 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2560) มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 278.81 ต่อประชากรแสนคน นับว่าเป็นอัตราป่วยที่สูงมากเมือเปรียบเทียบกับระยะเวลาก่อนหน้าและปี 2561 -ปี 2562 ไม่พบผู้ป่วย   จากสถานการณ์ดังกล่าวกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ ได้จัดทำโครงการ"ชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ปี 2563"เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขต พื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อโดยส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ได้อย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต่อง 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรม 5 ป 1 ข ที่ถูกต้อง 3.เพื่อให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง(HI,CI) 4.เพื่อให้อัตราป่วยเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 55 14,950.00 1 14,950.00
1 ก.พ. 63 - 31 ก.ค. 63 โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกปี 2563 55 14,950.00 14,950.00

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะทำงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.และแกนนำชุมชนพร้อมแต่งตั้งคณะทำงานชุมชน 3.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 4.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงาน 5.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังนี้ 5.1ให้ความรู้แ่ก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบโดยใช้หลัก 5ป 1ข 5.2อบรมแกนนำครัวเรือนจำนวน 50 คน เรื่องการป้องกันตนเองและคนในครอบครัวจากโรคไข้เลือดออก 5.3สุ่มตรวจบ้านโดยแกนนำชุมชน เพื่อสำรวจแหล่งเพาะพันธู์ลูกน้ำยุงลายโดยการสุ่มบ้านเป้าหมายตามเขตรับผิดชอบของ อสม. เขตละ1 หลังคาเรือน เดือนละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง 5.4สรุปผลการสุ่มสำรจลูกน้ำยุงลายพร้อมคืนข้อมูลให้ชุมชนในวันประชุมประจำเดือน 6.ดำเนินกิจกรรมเผ้าระวังพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 7.สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดการเผ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนัก และปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง 3.ลดภาวะการติดเชื้อและป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ต.ท่ามะเดื่อ อ.บางแก้ว
4.ลดแหล่งเพาะพันธู์ลูกน้ำยุงลาย 5.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์ 6.ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือกออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2563 15:32 น.