กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามเหนือ


“ โครงการลดหวาน ลดน้ำตาลสะสม ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน ”

ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายวิสุทธิ์ บุญชัย

ชื่อโครงการ โครงการลดหวาน ลดน้ำตาลสะสม ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน

ที่อยู่ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 2563-L1494-1-1 เลขที่ข้อตกลง 2/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 ตุลาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการลดหวาน ลดน้ำตาลสะสม ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามเหนือ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการลดหวาน ลดน้ำตาลสะสม ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการลดหวาน ลดน้ำตาลสะสม ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 2563-L1494-1-1 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2563 - 30 ตุลาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,190.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาท่ามเหนือ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามเหนือมีโรงพยาบาลศูนย์ตรังเป็นแม่ข่าย เป็น รพ.สต.ระดับกลาง รับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน จำนวน 2,006 หลังคาเรือน ลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมือง พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม นับถือศาสนาพุทธ อาชีพทำการเกษตร รับจ้างเลี้ยงสัตว์ ทำสวน โดยเฉพาะสวนยางพารา สภาพเศรษฐกิจปานกลาง การคมนาคมสะดวก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดตตรัง 10 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิทางประมาณ 15 นาที มีร้านมินิมาร์ทหลายแห่ง มีตลาดนัดที่จำหน่ายอาหาร และสินค้าอื่น ๆ หลากหลายกระจายอยู่ในหมู่บ้าน โดยเปิดให้บริการหมุนเวียนกัน จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและกำลังในการซื้อสูง จากเดิมวิถีชีวิตเป็นระบบการเกษตรคือปลูกทุกอย่างที่กินได้ เปลี่ยนปลูกทุกอย่างที่ขายได้มีความสามารถในการใช้จ่ายและมีผลไม้ตามฤดูกาลหลายหลายชนิด ในกลุ่มผู้สูอายุ นิยมรับประทานผลไม้ภายหลังรับประทานอาหาร หรือรับประทานผลไม้รสหวานในระหว่างมื้ออาอาหาร เช่น มะม่วงสุก มะขาม สัปปะรด เป็นต้น ส่งผลให้แนวมโน้มโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป จากเดิมจะเป็นการประกอบอาหารโดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่หรือครัวเรือนประกอบอาหารรับประทานเอง ก็เปลี่ยนมาเป็นซื้ออาหารสำเร็จรูปมารับประทาน การกินอาหารจากสภาพตามท้องถิ่น เปลี่ยนมาเป็นซื้ออาหารตามร้านสะดวกซื้อหรือรถเร่แผงลอย การรับประทานเกินความจำเป็น หรือมากกว่า 3 มื่อต่อวัน การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากการทำงานกลางแจ้งต้องใช้แรงงาน เปลี่ยนเป็นทำงานนั่งโต๊ะ ขาดการออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวันที่มีแต่ความเครียด การดื่่มน้ำหวานมากเกินความจำเป็น การดื่มกาแฟซองโดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนกลายเป็นโรคเบาหวาน และพบว่าแนวโน้มผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่มีเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 และผลตัวชี้วัดร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ (มากกว่าร้อยละ 40 ) ได้ 10.23% ในปี 2561 ส่งผลให้เกิดความคิดพัฒนาปรับพฤติกรรมคนในชุมชนโดยการจัดทำโครงการให้ความรู้ลดอาหารหวาน เครื่องดื่มหวาน ผลไม้หวาน โดยให้มีความรู้เข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริม ป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน โดยให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่หมาะสม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดการดูแลตนเองแบบยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารหวาน เครื่องดื่มหวาน และผลไม้หวานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. 2. เพื่อติดตามระดับ HbA1C หลังได้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีก 3 เดือนและ 6 เดือน
  3. 3. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1C>7% ที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับดี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมจัดเตรียมสถานที่พร้อมลงทะเบียนแจกชุดสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม
  2. วิทยากรให้ความรู้ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
  3. กิจกรรมวิทยากรให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารแลกเปลี่ยนผ่านโมเดลอาหาร

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการบริโภคอาหารหวาน เครื่องดื่มหวาน และผลไม้ที่มีรสหวานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ย HbA1C ลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ต่อเนื่องมากขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายจากการรักษา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายที่เข่าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปแนะนำแก่คนในครอบครัวชุมชน ได่้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมจัดเตรียมสถานที่พร้อมลงทะเบียนแจกชุดสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม

วันที่ 30 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดเตรียมสถานที่พร้อมลงทะเบียนแจกชุดสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมโดยการ แจกวัสดุในการจัดการอบรม รายละเอียดดังนี้ 1. ปากกา จำนวน 60 แท่ง ๆ ละ 6 บาท เป็นเงิน 360 บาท 2. กระดาษ A4 จำนวน 2 รีม ๆ ละ 105 บาท เป็นเงิน 210 บาท 3. เอกสารแผ่นพับให้ความรู้ขนาด A42 หน้า จำนวน 60 ใบ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1500 บาท 4. ชุดสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ (โฟมบอร์ด) จำนวน 10 ป้ายละ 200 บาทเป็นเงิน 2000 บาท 5. ค่าไวนิล ขนาด 1.22.5 เมตร จำนวน 2 แผ่น ๆ ละ 360 บาท เป็นเงิน 720 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าอบรมได้รับแจกวัสดุ และแจกชุดสื่อ

 

60 0

2. วิทยากรให้ความรู้ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

วันที่ 30 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • วิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เวลา 09.00- 12.00 น.
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและนำไปแนะนำแก่คนในครอบครัวชุมชนได้อย่างถูกต้อง

 

60 0

3. กิจกรรมวิทยากรให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารแลกเปลี่ยนผ่านโมเดลอาหาร

วันที่ 30 กรกฎาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

วิทยากรบรรยายให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารแลกเปลี่ยนผ่านโมเดลอาหาร เวลา 13.00-16.30 น. - มีอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารได้อย่างถูกต้อง

 

60 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผลการดำเนินงาน     โครงการนี้มีผู้มาเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 60 คน ตลอดการดำเนินกิจกรรม ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (มากกวาร้อยละ 80) คิดเป็นร้อยละ 100 โดยผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับน้ำตาลในเลือดสะสมเฉลี่ยลดลงทั้งหมด 37 ราย ที่ 3 เดือน และ6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 61.67 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ มากกว่าร้อยละ 60 และพบว่าความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการโดยรวมอยู่ในระดับดีมากเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 90
  2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์   2.1 บรรลุตามวัตถุประสงค์   2.2 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 60 คน
  3. การเบิกจ่ายงบประมาณ   งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 16190 บาท   งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ  16190 บาท
  4. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน   ไม่มี

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารหวาน เครื่องดื่มหวาน และผลไม้หวานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 50 ของค่า HbA1C ที่ลดลงมากกว่า 20% ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับดี
80.00 100.00

 

2 2. เพื่อติดตามระดับ HbA1C หลังได้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีก 3 เดือนและ 6 เดือน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของค่าHbA1C ที่ลดลงมากกว่า 20%
50.00 61.67

 

3 3. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1C>7% ที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับดี
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุมมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับดี
90.00 90.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารหวาน เครื่องดื่มหวาน และผลไม้หวานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (2) 2. เพื่อติดตามระดับ  HbA1C หลังได้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีก 3 เดือนและ 6 เดือน (3) 3. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1C>7% ที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับดี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมจัดเตรียมสถานที่พร้อมลงทะเบียนแจกชุดสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม (2) วิทยากรให้ความรู้ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน (3) กิจกรรมวิทยากรให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารแลกเปลี่ยนผ่านโมเดลอาหาร

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการลดหวาน ลดน้ำตาลสะสม ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 2563-L1494-1-1

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายวิสุทธิ์ บุญชัย )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด