กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ/กิจกรรม: ติดตามผู้ป่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.จะแนะ
วันที่อนุมัติ 5 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 พฤษภาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 85,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิมลต์หะยีนิมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางอาซียะห์ เรปูตา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.077,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่พบบ่อย ซึ่งเกิดจากสาเหตุการสูบบุหรี่ที่ยังคงสูบอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดภาวการณ์สูญเสียสุขภาพ ผู้ป่วยที่เป็นโรคจะมีคุณภาพชีวิตที่ลดลงไม่สามารถทำงานหรือทำกิจกรรมได้เช่นคนปกติ มีอาการโรคกำเริบบ่อยครั้ง มีอาการหายใจลำบาก เนื่องจากสมรรถนะภาพปอดลดลง ทำให้ต้องมารับการรักษาที่แผนกห้องฉุกเฉิน และนอนรับการรักษาในโรงพยาบาล และในที่สุดต้องใช้เครื่องหายใจ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก ซึ่งเป็นภาระของผู้ป่วย ของโรงพยาบาล ทั้งนี้โรงพยาบาลจะแนะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาในโรงพยาบาล พบจำนวนผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในด้วยภาวะ Ac Exacerbation ในปี ๒๕๕๖- ๒๕๕๙ เป็น๓๑และ ๒๐ , ๑๕ , ๑๖และ ๖ตามลำดับ อัตราการ Readmission โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในปี ๒๕๕๖-๒๕๕๙ พบเป็น ๒.๑๓,๑.๑๙,๓.๒๐และ๔.๒ ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของผู้ป่วยที่สามารถควบคุมโรคได้ดีขึ้นจากการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังทำให้ลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อชีวิตผู้ป่วยทั้งทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ เมื่อผู้ป่วยมีอาการกำเริบ ซึ่งถ้ามีการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยได้จะสามารถควบคุมโรคและลดภาวะการหายใจลำบากได้ จะสามารถลดความกดดันจากการใช้ชีวิต ทำให้มีความพึงพอใจ รับรู้ความสุขในชีวิตเพิ่มมากขึ้นแต่การReadmission เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเป็นผู้ป่วยคนเดิมๆ เกิดจากสภาพแวดล้อมที่บ้านมีฝุ่นควันจากการเผาถ่าน ดังนั้นในการดำเนินงานเพื่อควบคุมโรคจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้กรอบแนวคิดของต้นแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) โดยมีการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบผสมผสาน ทั้งระบบงานภายในโรงพยาบาลและการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ด้วยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เน้นการดูแลตนเองของผู้ป่วยและส่งเสริมให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจนเกิดผลลัพธ์ในการดูแลรักษาที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ด้วยเหตุดังกล่าว โรงพยาบาลจะแนะ เห็นความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยโดยชุมชนมีส่วนร่วม จึงจัดทำโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วยและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังขึ้นและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถควบคุมโรคได้

 

2 ๒. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

 

3 สร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วย

 

4 ๔. พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบผสมผสานและต่อเนื่องถึงชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถควบคุมโรคได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ๒. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : สร้างกระแสการส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : ๔. พัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบผสมผสานและต่อเนื่องถึงชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีดำเนินการ จัดประชุมเจ้าหน้าที่ วางแผนกิจกรรม จัดทำโครงการ โดยวางรูปแบบกิจกรรมดังต่อไปนี้ ๑. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน อสม ร่วมวางแผนดูแลและ ๒. การติดตาม การสนับสนุนการดูแลตนเองเน้นการ Empowerment ทั้งผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังเข้าถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
๓. จัดสถานที่ และการรูปแบบขั้นตอนการดูแล การลงทะเบียนรับใบขั้นตอนเสียบใบนัดและติดสติกเกอร์ที่ใบนัดโดยใบขั้นตอนจัดทำแบบฟอร์มขึ้นเฉพาะ ส่งต่อยังคนกลางเพื่อส่งตาม ฐานต่างๆ คือฐานความรู้โดยกายภาพบำบัด โภชนาการ ฐานการประเมินสุขภาพจิต ฐานดูแล ระบบทางเดินหายใจ และฐานการดูแลจิตใจตามวิถีมุสลิม และฐานประเมินสมรรถภาพ ผสมผสานกับกรอบแนวคิดการวางแผนจำหน่าย ๔. จัดนิทรรศการให้ความรู้การดูแลตนเองและควบคุมโรค และประเมินผลสมรรถภาพร่างกาย ๕. หลังเข้าโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วย และจัดประกวดผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังควบคุมโรคได้ ๖. ประเมินผลสมรรถภาพร่างกายหลังเข้าโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดในผู้ป่วย
๗. สรุปผลการดำเนินงาน พร้อมปัญหา อุปสรรค เพื่อแก้ไขวางแผนงานต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยรับรู้วิธีการส่งเสริมสุขภาพเพื่อการคุมโรคโดยใช้หลัก ๓อ. ๒ส.สามารถควบคุมโรคได้ ๒. เกิดกลุ่มครัวเรือนดูแลผู้ป่วยโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ๓. ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เพื่อลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค
๔. แกนนำผู้ป่วย และชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนดูแลติดตามผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2560 20:41 น.