กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลเขาขาว ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L1527-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมรักสุขภาพ ตำบลเขาขาว
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 46,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรณภัสร ผสมพราหมณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.811,99.618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรือยมา ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลอดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่การควบคุมและป้องกันโรคเชิงรุกโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลอดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลิอดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลอดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญต้องเร่งดำเนินการ ในการนี้ ชมรมรักสุขภาพ ตำบลเขาขาว เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลิอดออก ได้รับการควบคุมโรคที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จัดทำ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลอดออก ตำบลเขาขาว ประจำปีงบประมาณ 2563 ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลอดออกล่วงหน้า และทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลิอดออก

1.อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลอดออกให้เหลือไม่เกิน 98 ต่อแสนประชากร

0.00
2 2.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน

2.พื้นที่เสี่ยงและบ้านเรือนที่ได้รับรายงานไข้เลิอดออกได้รับการฉีดพ่นหมอกควันตามาตรฐาน ตามห้วงเวลาที่กำหนด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 915 46,100.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 พ่นหมอกควันเพื่อทำลายยุงตัวแก่ที่เป็นพาหนะนำโรคและหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออก 15 26,600.00 -
1 มิ.ย. 63 แจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย 900 19,500.00 -

1.เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาขาวเพื่อขออนุุมัติเงินสนับสนุนโครงการ 2.ประสานงนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต. และอื่นไที่ร่วมกันวางแผนและดำเนินการ 3.แจ้งผู้นำชุมชน อาสาสมัคร อสม. และภาคีเครือข่าย ผู้ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ 4.ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควันเพื่อทำลายยุงตัวแก่ที่เป็นพาหนะนำโรคและหยุดการระบาดของโรคไข้เลอดออก ในพื้นที่เสี่ยงและบ้านเรือนที่ได้รับรายงานไข้เลือดออก 5.ดำเนินการแจกทราบกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อเติมใส่ภาชนะใส่น้ำในครัวเรือน 6.สรุปผลการดำเนินการฉีดพ่นหมอกควันในแต่ละครั้ง 7.สรุปผลการดำเนินโครงการ รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาขาว

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลอดออก ในทุกกลุ่มอายุลดลง 2.สามารถลดอัตราการแพร่โรคไข้เลอดออก ในสถานศึกษาและชุมชน 3.ไม่มีรายงานพบชุมชนที่มีการเกิดโรคใน generation ที่ 2 ในผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลิอดออก 4.ค่า House Index น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 และ ค่าContainer Index น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10
5.ในสถานบริการต่างๆ เช่น โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานที่ราชการที่ภาคส่วนมีค่า CI = 0 ร้อยละ 100
6.ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลอดออก มีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลอดออกในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2563 14:21 น.