กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรมเปลี่ยนชีวิตพิชิตโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 16,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงรค์ รอดชุม เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญการงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 มิ.ย. 2563 16 ก.ค. 2563 16,100.00
รวมงบประมาณ 16,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศ ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแลส่วนปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะเบาหวานก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมาก ส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อมเช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุุหรี่จัดดื่มสุราจัด มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน คนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัว ซึ่งโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง และเบาหวานก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมองและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานว่าเป็น "ภัยเงียบ"   จากสถิติพบว่า ประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4.8 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาเพียงร้อยละ 35.6 หรือเพียง 2.6 ล้านคน บรรลุเป้าหมายในการรักษาได้เพียง 0.9 คน ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในเมืองไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน คาดการณ์ว่าความซุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มสูงขึั้นถึง 5.3 ล้านคนภายในปี 2583 (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2562) และโรคควาดันโลหิตสูง ประชากรทั่วโลก คาดว่าในปี 2568 ความซุก ของผู้ป่วยจะเพิ่มขี้นเป็น 1.56 พันล้านคน สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยจำนวนผู้เสียชีวิต จากโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขี้นเช่นเดียวกับจำนวนผู้ป่วยจาก 5,186 คน ในปี 2556 เป็น 8,525 คน ในปี 2560 (สถิติสาธารณสุข 2560)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 16,100.00 1 16,100.00
23 มิ.ย. 63 - 16 ก.ค. 63 ปรับพฤติกรรมเปลี่ยนชีวิตพิชิตโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2563 50 16,100.00 16,100.00

1.เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบ 3.จัดตั้งทีมงานและมอบหมายผู้รับผิดชอบ 4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 5.ระยะเวลาดำเนินการ 6.สถานที่ดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือ/ระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ 2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน 3.ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่ 4.มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชนที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2563 13:01 น.