โครงการฝากครรภ์คุณภาพ แม่ปลอดภัย ลูกน้อยสุขภาพดี ตำบลบาลอ ปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการฝากครรภ์คุณภาพ แม่ปลอดภัย ลูกน้อยสุขภาพดี ตำบลบาลอ ปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L8413-01-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาลอ |
วันที่อนุมัติ | 3 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 1 ธันวาคม 2563 |
งบประมาณ | 25,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนงนุช ยวงใย |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายรูสลาม สาร๊ะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.448,101.445place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 29 พ.ค. 2563 | 29 พ.ค. 2563 | 25,400.00 | |||
รวมงบประมาณ | 25,400.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 218 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงเมื่อแต่งงานมีครอบครัว ผลที่ตามมาคือการตั้งครรภ์ จะโดยพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตาม แต่สภาพสังคมปัจจุบันผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่าจะทำงานบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วยทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง บางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่างและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วย ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม ในเรื่องต่าง ๆ เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพอนามัย การเลือกใช้ยา ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ และการปฏิบัติตนต่าง ๆ รวมไปถึงการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ การเตรียมตัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากที่แม่ทุกคนควรทราบถึงความสำคัญของการให้นมบุตรด้วยน้ำนมของตนเองเพราะจะทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตที่ดีและยังเป็นการสร้างสายใยรักผูกพันของครอบครัว ผลการดำเนินงานอนามัยและเด็กตำบลบาลอ ย้อนหลัง 3 ปี พบว่า 1. ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 69.41,80.6 และ 87.84 ตามลำดับ (เกณฑ์มากกว่า ร้อยละ 80) 2. ฝากครรภ์ครบ 5 เกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 58.33,69.23 และ 77.46 ตามลำดับ(เกณฑ์ ร้อยละ 60) 3. คลอดบุตรน้ำหนักน้อย 2,500 กรัม 15.85, 16.42 และ 13.51 (เกณฑ์น้อยกว่า 10 ) ตามลำดับ จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาลอ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะซีดของแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ 2. เพื่อให้ตั้งครรภ์และผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว การดูแลครรภ์ขณะตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลและฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 100 ของผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 218 | 25,400.00 | 1 | 25,400.00 | 0.00 | |
25 - 28 ก.ย. 63 | อมรมเชิงปฏิบัติการ อสม. กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ | 218 | 25,400.00 | ✔ | 25,400.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 218 | 25,400.00 | 1 | 25,400.00 | 0.00 |
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
- ประชาสัมพันธ์โครงการ
- จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อการสอน ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม 4. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ อสม. การดำเนินงานโครงการอนามัยแม่และเด็ก 5. ค้นหาหญิงตั้งครรภ์และให้คำแนะนำการฝากครรภ์คุณภาพ 6. อบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 7. ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ 8. เยี่ยมหญิงหลังคลอด เพื่อประเมินและกระตุ้นการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา 9. ให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด 10. สรุปผลการดำเนินงาน
- หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 70
- หญิงตั้งครรภ์ได้รับการบริการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คุณภาพ ร้อยละ 70
- หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด ไม่เกิน ร้อยละ 10
- ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย 2,500 กรัม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2563 11:47 น.