กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก” อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 พฤศจิกายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยทัต ยอดณรงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.423,99.921place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่ง โดยมีผลกระทบต่อปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายตนเอง ครอบครัวเศรษฐกิจ ชุมชน และส่งผลไปถึงการพัฒนาประเทศชาติอีกด้วย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันไข้เลือดออกมาโดยตลอด จากข้อมูลรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในปี พ.ศ. ๒๕62 (ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๓๑ ธันวาคม ๒๕62)อำเภอกงหรา มีผู้ป่วยจำนวน 83 ราย (อัตราป่วย 297.10ต่อแสนประชากร) และตำบลคลองทรายขาว มีผู้ป่วยจำนวน 8ราย (อัตราป่วย ๑๔๑.๔๒ต่อแสนประชากร) ซึ่งยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขอยู่ เนื่องจากสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก การควบคุมการแพร่ระบาดของโรค จึงอยู่ที่การลดความชุกของยุงลาย

-2-

ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรค จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการควบคุมและป้องกันโรคในชุมชนและโรงเรียน และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชนในชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก พร้อมกับแจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ จนครอบคลุมตามเป้าหมาย และขยายไปสู่หมู่บ้านอื่น ๆ ในโอกาสต่อไป พร้อมทั้งสรุปหาค่าดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย (House Index ; HI

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างทีมปฏิบัติงานเชิงรุกในการสำรวจลูกน้ำยุงลาย เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน และในชุมชน โดยเด็กนักเรียน

มีทีมปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชน  สามารถออกสำรวจลูกน้ำยุงลายได้ทุกสัปดาห์

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการสำรวจลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านของตนเองอย่างต่อเนื่อง

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (House Index ; HI  <๑๐)

0.00
3 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำและยุงลาย

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง (ไม่เกิน  ๕๐ : ๑๐๐,๐๐๐ประชากร)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 383 11,900.00 1 11,900.00
24 ก.ค. 63 - 29 ธ.ค. 63 จัดกิจกรรมให้ความรู้และฟื้นฟูความรู้แก่ทีม SRRT แกนนำชุมชนและผู้นำชุมชน,จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่ออื่นๆ,จัดกิจกรรมรณรงค์เจ้าของครัวเรือนเก็บเศษวัสดุบริเวณบ้านที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทุกเดือน 383 11,900.00 11,900.00

๑. รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ ๒. นำผลการวิเคราะห์ข้อมูล เข้าสู่การประชุมทีม SRRT โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ เพื่อรับทราบ และแก้ไขปัญหาร่วมกัน ๓. นำเสนอโครงการ เพื่อขออนุมัติในหลักการและงบประมาณรวมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการ 4. ประสานงานกับ อสม. ในแต่ละหมู่บ้านจัดรณรงค์ร่วมกับประชาชน/ชุมชน เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ จำนวน ๓ หมู่บ้าน ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน โรงเรียน มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5. อสม.รายงานผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายประจำทุกเดือน 6. ประชุมทีม SRRT เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 7. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้นำชุมชน อสม. และประชาชนในหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น และให้ความตระหนักในการร่วมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในบริเวณบ้านของตนเองทุกสัปดาห์ ซึ่งสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้แพร่ระบาดได้ ๒. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (House Index ; HI

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2563 15:09 น.