กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ“อสม.รพ. สต.บ้านท่าเหนาะชวนวิ่ง” ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านท่าเหนาะ
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 พฤศจิกายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยทัต ยอดณรงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.423,99.921place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสาเหตุจากการกินอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด  รวมทั้งกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  และต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยคนละ  ๑ แสนบาทต่อเดือน และพบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากรในโรคมะเร็งทุกชนิด ๑๓๔.๒๑ โรคความดันโลหิตสูง ๘๖๐.๕๓ โรคเบาหวาน ๖๗๕.๗๔ โรคหัวใจและหลอดเลือด ๙๐๑.๓๑ และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด ๘๕.๐๔ โรคความดันโลหิตสูง ๓.๙๐ โรคเบาหวาน ๑๒.๒๒ โรคหัวใจและหลอดเลือด ๕๖.๐๐ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕60) จากผลการเฝ้าระวังการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารของประชาชนอายุ ๑๕-๖๐ ปี        จำนวน ๑,๕๒๐ คน ทั่วประเทศโดยกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕60 พบว่า ประชาชนที่ออกกำลังกายถูกต้องมีเพียงร้อยละ ๓๒.๖ การบริโภคผักและผลไม้ไม่น้อยกว่าวันละครึ่งกิโลกรัม มีเพียงร้อยละ ๒๓.๗ และกินอาหารไขมันสูงเป็นประจำร้อยละ ๑๔.๐
ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ “อสม.รพ.สต.บ้าน  ท่าเหนาะ ชวนวิ่ง” ขึ้นเพื่อเป็นแกนนำสุขภาพต้นแบบให้กับประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ให้ประชาชนในพื้นที่ดำเนินการมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ – ๕ วันๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผัก ลดอาหารไขมัน ลดการกินเค็ม และลดอาหารหวาน

มีบุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ หมู่บ้านละ 5 คน

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง สามารถบอกปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับตนเองได้และวางแผนการกินเพื่อควบคุมน้ำหนักตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติได้

ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

0.00
3 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค

ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 540 8,900.00 1 8,900.00
7 ส.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 กิจกรรมการเรียนรู้ และการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน,ประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ,จัดมหกรรมสุขภาพหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค 540 8,900.00 8,900.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)         ๑. สร้างทีมการดำเนินงาน ประสานงานกับภาคีเครือข่าย ดังนี้ ๑.๑ ประชุมตัวแทนเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชน เพื่อชี้แจงแนวทางและคัดเลือกคณะทำงาน
๑.๒ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานระดับหมู่บ้าน
๒. สำรวจสภาพปัญหา และ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน ๓. จัดทำเวทีประชาคมและสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ๑ วัน ๔. กิจกรรมการเรียนรู้ และการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน   ๔.๑ ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมายที่สมัครเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ ๑ วัน     ๔.๒ ตั้งข้อกำหนดของชุมชน เรื่อง การออกกำลังกาย โดยการวิ่ง
    ๔.๓ ส่งเสริมการออกกำลังกายตามรูปแบบ และการเล่นกีฬา ตามความเหมาะสมของกลุ่มอายุ ๕. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างกระแสและการรับรู้ให้ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การออกกำลังกายโดยการวิ่ง ๖. การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง (เข้าร่วมโครงการ)     ๖.๑ ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงโดยใช้แบบสัมภาษณ์การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย    (กองสุขศึกษา )
  ๖.๒ คัดกรองความเสี่ยงต่อโรค ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว/สะโพก วัดความดันโลหิต เจาะหาน้ำตาลในเลือด เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้าง ๗. จัดมหกรรมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ   ๗.๑ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์/ส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
- จัดเสวนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบุคคลต้นแบบ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้สูงอายุสุขภาพดี
- ประกวดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ   ๗.๒ แข่งขันการออกกำลังกาย   ๗.๓ การจำหน่ายผักปลอดสารพิษ ๘. นิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามโครงการฯ
๙. ประเมินผลโครงการฯ ๑๐. สรุปและจัดทำรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. มีบุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ หมู่บ้านละ 5 คน ๒. มีแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ หมู่บ้านละ ๑ แห่ง ๓. ประชาชนในหมู่ที่ 3 , 5 และ ๖ ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
๔ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2563 15:13 น.