กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560
รหัสโครงการ 7/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 56,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรอุมา สวนจันทร์ รองปลัดอบต.รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ นาย สฤษดิ์ ผาอาจ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ได้มีการถ่ายโอนภารกิจการคุ้มครองผู้บริโภคให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหนังสือที่ว่าการอำเภอเบตงที่ ยล. 0217/ว 420ลงวันที่24 มิถุนายน 2552 ซึ่งสืบเนื่องมาจากแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2 )พ.ศ. 2551 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2)มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กุมพาพันธ์ 2551 ส่วนราชการต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่กำหนดและตามมติที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 1 /2552 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 และครั้งที่ 2/2552 วันที่ 30 มีนาคม 2552 ได้เห็นชอบให้มอบภารกิจการคุ้มครองผู้บริโภคให้องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ โดยให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ จำนวน 1 คณะมีหน้าที่สำคัญในการติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะการจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการใดๆตามที่เห็นสมควรและจำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคการประสานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค การให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน และสิทธิเครือข่ายความเข้มแข็งของประชาชนเพื่อป้องกันการละเมิดของผู้บริโภค องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะได้เห็นถึงความสำคัญของภารกิจการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ความรับผิดชอบ ในการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากการปนเปื้อน จำเป็นจะต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ฉะนั้น เพื่อให้ประชาชนสามารถบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยจากผู้ประกอบการด้านอาหารที่มีความรู้และเข้าใจด้านการประกอบอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัยในชีวิตประจำวันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยได้ องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์การบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยขึ้น เพื่อเฝ้าระวังและประกันคุณภาพอาหาร และเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย

 

2 2.เพื่อเป็นการประกันคุณภาพของอาหารภายในเขตพื้นที่เป้าหมาย ลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยของประชาชน

 

3 3.เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม

 

4 4.เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับประชาชนผู้บริโภค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1ขั้นเตรียมการ
1.1 จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการอาหารปลอดภัย 1.2 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 2 ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 ประชุมคณะกรรมการโครงการ (วางแผนก่อนลงพื้นที่ประเมินร้านค้า/แผงลอย วันที่ 1 มิย.60) ครั้งที่ 2 ประชุมคณะกรรมการโครงการ (ชุดลงพื้นที่ฯ วันที่ 15 มิย.60) ครั้งที่ 3 ประชุมสรุปผลโครงการ (เสร็จสิ้นโครงการ 30 กย.60) 2.2 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการ 2.3 ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อน ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่
2.4 เชิญชวนร้านอาหารให้ดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการของตนเองให้ได้มาตราด้านสุขาภิบาลอาหาร
2.5 จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป 2.6 ให้ร้านอาหารกลับไปประเมินตนเองและปรับปรุงร้านอาหารแผงลอยตามเกณฑ์ 2.7 ลงพื้นที่ตรวจประเมินร้านอาหารแผงลอยตามเกณฑ์ 2.8 สรุปผล 2.9 มอบป้ายรับรองแก่ร้านหรือแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์ 3 การติดตามและประเมินผล 3.1 ประเมินและสรุปผลโครงการ 4เป้าหมายและดัชนีชี้วัด
4.1 จำนวนรายการอาหารที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารร้อยละ 100
4.2จำนวนร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบมาตรฐานร้านจำหน่ายอาหารตามหลักสุขาภิบาลร้อยละ 100
4.3หลักการอบรม ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรม(ทำแบบวัดความรู้ก่อนและหลังอบรม)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร มีความรู้และเข้าใจสามารถพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหารของตนเองให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 2 ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย 3 ประชาชนมีความรู้และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2560 14:23 น.