กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนสีขาวปลอดบุหรี่
รหัสโครงการ 63-L3354-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดภยาราม
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพฑูรย์ บุญกลาง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.545,100.05place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในภาวะปัจจุบัน สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เกิดปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาต่างๆที่ตอนนี้สังคมไทยยังแก้ไม่ได้อีกมากมาย และในตอนนี้ปัญหาที่หนักหน่วงเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่ง ก็คือ การติกบุหรี่ของคนไทย ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ ก็ยังไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอันตรายต่อตนเองมากแค่ไหน เป็นการเพิ่มอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น จึงเป็นอีกปัญหาที่สมควรจะได้รับการแก้ไขอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันรณรงค์เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่โดยการใช้มาตรการหลายอย่าง ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ การออกกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่และนโยบายขึ้นภาษีบุหรี่ แต่จากข้อมูลสถิติชี้ให้เห็นว่าการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ไม่สามารถทำได้ในประชากรทุกกลุ่ม กลุ่มที่น่าเป็นห่วงและต้องรีบดำเนินการแก้ปัญหาคือ กลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตสำคัญของประเทศมีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น และกลุ่มสตรีที่พบว่า มีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงช้า และมีอายุที่เริ่มสูบบุหรี่เร็วขึ้น
    ปัจจุบันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นพบว่ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและเริ่มสูบบุหรี่ในอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ เกิดจากวัยรุ่นยังมีความเชื่อที่ผิดๆ ขาดความตระหนักในพิษภัยของบุหรี่ บางครอบครัวมีพ่อสูบบุหรี่ ทุกครั้งที่สูบบุหรี่พร้อมๆกับพ่นควันโขมงไปทั้งบ้านอย่างมีความสุขอยู่นั้น ได้ก่อให้เกิดโศกนาฎกรรมอย่างร้ายแรงแก่ลูกน้อยและเด็กในครอบครัว เพราะนั่นเป็นบ่อเกิดแห่งการติดบุหรี่ของเยาวชนไทย การอยากรู้อยากเห็น อยากลองบุหรี่ ซึ่งเห็นตัวอย่างมาจากผู้ปกครองที่บ้าน และการติดบุหรี่จากคุณแม่ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หากยังคงสูบบุหรี่ในระหว่างนี้แล้ว จะก่อให้เกิดความผิดปกติทั้งต่อตัวเองและเจ้าตัวน้อยๆ ที่อยู่ในท้อง ซึ่งหากผู้ใหญ่ในครอบครัวตระหนักถึงพิษภัยที่มาจากบุหรี่เพียงสักนิด ก็จะได้เยาวชนที่เติบโตมาเป็นเยาวชนที่ห่างไกลจากบุหรี่ได้
    โรงเรียนวัดอภยาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง พื้นที่โดยรอบโรงเรียนอยู่ติดกับชุมชน มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน ๑๓๓ คน ซึ่งในโรงเรียนทั้งเด็กและครู ไม่มีผู้ใดสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ แต่ในพื้นที่สังคมรอบด้าน ชุมชน ครอบครัว มีทั้งแหล่งจำหน่ายและผู้ที่สูงบุหรี่เป็นจำนวนมาก จากการสอบถามเด็กนักเรียนถึงปัญหาการสูบบุหรี่ในครอบครัวมีผู้ปกครองสูบบุหรี่ ร้อยละ ๖๐ ซึ่งพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ปกครองหรือผู้คนรอบด้านนี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก เช่น เลียนแบบพฤติกรรมของพ่อ อยากรู้อยากลอง นับว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่ออนาคตของเด็กที่จะเป็นเยาวชนเป็นอย่างมาก จากการลงเยี่ยมบ้านของนักเรียนและได้สอบถามผู้ปกครองเด็กนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดอภยาราม พบว่ามีเพียงร้อยละ ๒๐ ที่สูบบุหรี่ โรงเรียนวัดอภยารามจึงได้จัดทำโครงการ "โรงเรียนสีขาวปลอดบุหรี่" เพื่อเป็นการป้องไม่ให้เด็กนักเรียนไปยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ ให้ความรู้และป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากพิษภัยของบุหรี่ ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และขยายผลการรณรงค์ผู้ปกครอ นักเรียน/ชุมชน กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยป้องกัน เป็นแนวทางและลดนักสูบรายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนและชุมชน

ครู นักเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ มีความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรี่และพิษภัยของบุหรี่ผู้ปกครอง

0.00
2 เพื่อให้โรงเรียนและสถานที่ในชุมชนเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่

โรงเรียนและสถานที่ในชุมชน เป็นเขตปลอดบุหรี่ ๑๐๐%

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 26,600.00 3 26,600.00
31 พ.ค. 63 กิจกรรมย่อยการจัดทำป้ายไวนิลเพื่อเดินรณรงค์ภายในชุมชน 100 3,500.00 3,500.00
27 ส.ค. 63 จัดทำป้าย โรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่ 0 4,500.00 4,500.00
28 ส.ค. 63 การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่และพิษภัยของบุหรี่ 100 18,600.00 18,600.00

กิจกรรมที่ ๑. แต่งตั้งคณะทำงานด้สนการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในโรงเรียน
๑.๑ โรงเรียนแต่งตั้งคณะทำงานด้านการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในโรงเรียน เป็นลายลักษณ์อักษร โดยคณะทำงานประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ตัวแทนผู้ปกครอง และสารวัตรนักเรียน
๑.๒ โรงเรียนจัดประชุมคณะทำงานด้านการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในโรงเรียน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และวางแผนการดำเนินงาน
กิจกรรมที่ ๒. ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ๒.๑ โรงเรียนประชาสัมพันธ์รับสมัครนักเรียนที่มีจิตอาสาเป็นนักเรียนแกนนำ นักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
๒.๒ ให้ความรู้แก่ ครู นักเรียน และผู้ปกครองเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และพิษภัยของบุหรี่ และสารเสพติดอื่น
๒.๓ โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนแกนนำ นักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่อย่างหลสกหลายภายในโรงเรียน เช่น การเดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมบนเวทีหน้าเสาธง แจกแผ่นพับความรู้ เป็นต้น
๒.๔ ครูผู้สอนในรายวิชาต่างๆ สนับสนุนให้นักเรียนและละระดับชั้นมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่
กิจกรรมที่ ๓. ประกาศนโยบายโรงเรียนเป้นเขตปลอดบุหรี่ตามกฏหมาย
๓.๑ คณะครู แกนนำนักเรียน และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนร่วมกันเสนอกฏกติกาของโรงเรียน เพื่อให้เป็นโรงเรียนปลอดบุหรี่
๓.๒ โรงเรียนจัดทำประกาศนโยบายโรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย เป็นลายลักษณ์อัดษร การติดประกาศในบริเวณที่เห้นเ่นชัด
๓.๓ จัดทำป้าย "โรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย" ในจุดที่เห็นเด่นชัด จำนวน ๓ ป้าย
๓.๔ ประชาสัมพันธ์โรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฏหมาย เช่น เสียงตามสาย ดีเจน้อย วิทยุชุมชน ลงเว็บไซต์โรงเรียน facebook วารสารโรงเรียน เดินรณงค์ จัดป้ายนิเทศ จัดนิทรรณการ จัดมุมหนังสือ เป็นต้น
กิจกรรมที่ ๔. ขยายผลการณรงค์สู่ผู้ปกครองนักเรียน/ชุมชน
๔.๑ ครูสอดแทรกความรู้เรื่องบุหรี่และสุขภาพในการประชุมผู้ปกครอง โดยขอความร่วมมือจากผู้นำชุมชน ในการสนับสนุนการไม่สูบบุหรี่ในโรงเรียนและชุมชน
๔.๒ โรงเรียนใช้กิจกรรมเยี่ยมบ้านเป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ ชักชวนผู้ปกครองดูแลนักเรียนให้ปลอดบุหรี่
กิจกรรมที่ ๕. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๕.๑ รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๑ ครั้ง
๕.๒ จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าแค อย่างน้อย ๑ เล่ม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 13:16 น.