กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพ การลด ละ เลิก บุหรี่ ตามวิถีเจ๊ะบิลัง
รหัสโครงการ 2563/L7886/1/8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 พฤศจิกายน 2563 - 12 พฤศจิกายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสพินทร์ แก้วมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 ก.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 11,000.00
รวมงบประมาณ 11,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 92 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆเช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตันเป็นต้น  ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรง  คือผู้สูบบุหรี่เอง และทางอ้อมผู้ที่รับพิษจากควันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบ คือบุหรี่มือสอง ในปี พ.ศ. 2551 บุหรี่ คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคนซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรค โรคเอดส์ และไข้มาลาเรียรวมกัน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปี โดยพบว่ามะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูบบุหรี่ได้แก่มะเร็งปอดที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย อีกทั้ง การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันและเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงาน  ของหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรค  หลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก  และหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดปกติ โดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ทารกในครรภ์และเด็ก จะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูง เช่นทารกน้ำหนักตัวน้อย    คลอดก่อนกำหนด เด็กหากได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดภาวะไหลตาย ปอดอักเสบติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไป
      จากการสำรวจการบริโภคยาสูบตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ในช่วง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,417 ครัวเรือน มีประชากรที่ทำการสำรวจ 4,156 คน พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ27.69 ของประชากรที่สำรวจ (คิดเป็นผู้ใช้ยาสูบทุกชนิดจำนวน 1,151 คน) ระยะเวลาการสูบมากกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ34.75 โดยผู้สูบส่วนใหญ่เป็นผู้สูบเป็นประจำทุกวันร้อยละ 91.27โดยพบว่าปริมาณที่สูบต่อวัน6-10 มวนต่อวัน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ43.19รองลงมาคือสูบ 11-20 มวนต่อวันร้อยละ 25.17สูบวันละ 1- 5 มวนต่อวันร้อยละ 20.11 และสูบมากกว่า 20 มวนต่อวันร้อยละ 11.53เมื่อจำแนกตามประเภทของยาสูบ พบว่า มีการใช้บุหรี่มวนเองสูงสุดคือร้อยละ 54.14 รองลงมาคือบุหรี่ในโรงงาน ร้อยละ 41.18 และอื่น เช่นเคี้ยวยาสูบ บุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 4.08 (จากสถานการณ์แสดงว่ามีการใช้ยาสูบมากกกว่า 1 ประเภทในผู้ใช้ 1 คน) เมื่อพิจารณาข้อมูลการสูบบุหรี่ของประชาชนในพื้นที่แล้ว พบว่า มีการสูบบุหรี่มวนเองสูงกว่าบุหรี่โรงงานทั้งในด้านอัตราและจำนวนผู้สูบบุหรี่และมีการสูบบุหรี่สูงในเพศชาย ร้อยละ 98.75(จำนวน 1,139คน) ขณะที่เพศหญิงสูบ ร้อยละ 1.04 (จำนวน 12 คน) อายุอยู่ในวัยแรงงานและสูงอายุ ในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางและต่ำ ซึ่งเป็นลักษณะของชุมชนกึ่งชนบท และที่มากกว่านั้นก็คือ การได้รับควันบุหรี่มือสองเด็กต่ำกว่า 5 ปีเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของผู้สูบบุหรี่กับจำนวนเด็ก พบว่า เด็กมีความเสี่ยงในการได้รับความบุหรี่มือสอง ในสัดส่วน 1:2 จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นถึงปัญหาการใช้ยาสูบในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ทราบว่าทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ คนในครอบครัว ชุมชนและยังเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัวซึ่งอาจจะมีผลกระทบในด้านอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่น ความสูญเสียถึงชีวิต ความพิการ ครอบครัวแตกแยก ปัญหาฆ่าตัวตาย ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ.     ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ และการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนในชุมชน จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมสุขภาพการลด ละ เลิก บุหรี่ ตามวิถีเจ๊ะบิลัง
ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕63 ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายกลุ่มแกนนำต่างๆ ได้แก่ ท้องถิ่น อสม เยาวชน ผู้นำศาสนา ครู และสถานประกอบการ เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบ และสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ในชุมชน ส่งผลให้ คนในชุมชนมีการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ลดภาวะเสี่ยงและผลกระทบจากควันบุหรี่และ มีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เครือข่ายมีความรู้และทักษะในการดำเนินการเฝ้าระวังและส่งเสริม การลด ละ เลิก บุหรี่

จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ที่เข้ารับการอบรม อย่างน้อยละ 80

1.00
2 2.พัฒนาศักยภาพเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและส่งเสริมการ ลด ละ เลิก บุหรี่

มีทะเบียนชมรมสมาชิกเครือข่าย เฝ้าระวังและส่งเสริมการ ลด ละ  เลิก บุหรี่ โดยพลังชุมชน 2.มีแผนการเฝ้าระวังและส่งเสริมการ ลด ละ  เลิก บุหรี่

1.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 6 อ

1.จำนวนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเลิกสูบบุหรี่ 2.ชมรมการออกกลำกายในชุมชน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 92 11,000.00 2 11,000.00
2 - 6 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลพื้นฐานการสูบบุหรี่ในชุมชน 0 0.00 0.00
12 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ ๒.อบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่ 92 11,000.00 11,000.00

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลพื้นฐานการสูบบุหรี่ในชุมชน 1.1 ประเมินและวิเคราะห์พฤติกรรมเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ของคนในชุมชน 1.2 จัดทำทะเบียนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน 1.3 จัดตั้งชมรมและคณะกรรมการเครือข่าย 1.4 สร้างช่องทางสื่อสาร เช่น กลุ่มไลน์ โทรศัพท์ให้คำปรึกษา กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่   2.1 กิจกรรมกิจกรรมอบรมให้ความรู้
  2.2 กิจกรรมฝึกทักษะในการชักชวน ลด ละ เลิก บุหรี่กลุ่ม กิจกรรมที่3.พัฒนาศักยภาพเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและส่งเสริมการ ลด ละ เลิก บุหรี่   3.1 มัสยิดส่งเสริมสุขภาพ โดยพลังชุมชน   3.2 กิจกรรมจัดทำแผนในการ เฝ้าระวังและส่งเสริมการ ลด ละ เลิก บุหรี่
3.3 สร้างมาตรการและนโยบายควบคุมบุหรี่ในชุมชน 3.4 กิจกรรม อสม. เคาะประตูบ้าน ร่วมต้านอบายมุข 3.5 ติดตามเยี่ยมและลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน กิจกรรมที่4ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส
4.1 อ.ออกกำลังกาย ส่งเสริมกิจกรรมรณรงค์การออกกำลังกายในชุมชน
4.2 อ.อาหาร ส่งเสริมอาหารเมนูสุขภาพดี
4.3 อ.อารมณ์ ส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการสร้างสุข
4.4 อ.อโรคยาเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรค เช่นการคัดกรองสุขภาพ การเฝ้าระวังโรค บุคคลต้นแบบการเลิกบุหรี่ 4.5 อ.อนามัยสิ่งแวดล้อม สร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่การจัดสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ และร้านค้าให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฏหมาย 4.6 อ.อบายมุข ส่งเสริมกิจกรรม อสม เคาะประตูบ้าน ร่วมต้านอบายมุข

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากดำเนินโครงการส่งเสริม การ ลด ละ เลิกสูบบุหรี่โดยพลังชุมชน ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕63  เครือข่ายมีความรู้และทักษะในการดำเนินการเฝ้าระวังและส่งเสริม การลด ละ เลิก บุหรี่ ไดรับการศักยภาพเครือข่ายละมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและส่งเสริมการ ลด ละ เลิก บุหรี่ ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 6 อ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชน มีการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ลดภาวะเสี่ยงและผลกระทบจากควันบุหรี่และ มีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 15:05 น.