กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันจากสถิติการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยพบว่าป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพเป็นอันดับต้นๆเช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดในสมองอุดตันเป็นต้น  ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรง  คือผู้สูบบุหรี่เอง และทางอ้อมผู้ที่รับพิษจากควันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบ คือบุหรี่มือสอง ในปี พ.ศ. 2551 บุหรี่ คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคนซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรค โรคเอดส์ และไข้มาลาเรียรวมกัน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปี โดยพบว่ามะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูบบุหรี่ได้แก่มะเร็งปอดที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย อีกทั้ง การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันและเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงาน  ของหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรค  หลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก  และหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดปกติ โดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ทารกในครรภ์และเด็ก จะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูง เช่นทารกน้ำหนักตัวน้อย    คลอดก่อนกำหนด เด็กหากได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดภาวะไหลตาย ปอดอักเสบติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไป
      จากการสำรวจการบริโภคยาสูบตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ในช่วง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,417 ครัวเรือน มีประชากรที่ทำการสำรวจ 4,156 คน พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ27.69 ของประชากรที่สำรวจ (คิดเป็นผู้ใช้ยาสูบทุกชนิดจำนวน 1,151 คน) ระยะเวลาการสูบมากกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ34.75 โดยผู้สูบส่วนใหญ่เป็นผู้สูบเป็นประจำทุกวันร้อยละ 91.27โดยพบว่าปริมาณที่สูบต่อวัน6-10 มวนต่อวัน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ43.19รองลงมาคือสูบ 11-20 มวนต่อวันร้อยละ 25.17สูบวันละ 1- 5 มวนต่อวันร้อยละ 20.11 และสูบมากกว่า 20 มวนต่อวันร้อยละ 11.53เมื่อจำแนกตามประเภทของยาสูบ พบว่า มีการใช้บุหรี่มวนเองสูงสุดคือร้อยละ 54.14 รองลงมาคือบุหรี่ในโรงงาน ร้อยละ 41.18 และอื่น เช่นเคี้ยวยาสูบ บุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 4.08 (จากสถานการณ์แสดงว่ามีการใช้ยาสูบมากกกว่า 1 ประเภทในผู้ใช้ 1 คน) เมื่อพิจารณาข้อมูลการสูบบุหรี่ของประชาชนในพื้นที่แล้ว พบว่า มีการสูบบุหรี่มวนเองสูงกว่าบุหรี่โรงงานทั้งในด้านอัตราและจำนวนผู้สูบบุหรี่และมีการสูบบุหรี่สูงในเพศชาย ร้อยละ 98.75(จำนวน 1,139คน) ขณะที่เพศหญิงสูบ ร้อยละ 1.04 (จำนวน 12 คน) อายุอยู่ในวัยแรงงานและสูงอายุ ในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางและต่ำ ซึ่งเป็นลักษณะของชุมชนกึ่งชนบท และที่มากกว่านั้นก็คือ การได้รับควันบุหรี่มือสองเด็กต่ำกว่า 5 ปีเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของผู้สูบบุหรี่กับจำนวนเด็ก พบว่า เด็กมีความเสี่ยงในการได้รับความบุหรี่มือสอง ในสัดส่วน 1:2 จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นถึงปัญหาการใช้ยาสูบในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ทราบว่าทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ คนในครอบครัว ชุมชนและยังเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัวซึ่งอาจจะมีผลกระทบในด้านอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่น ความสูญเสียถึงชีวิต ความพิการ ครอบครัวแตกแยก ปัญหาฆ่าตัวตาย ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ.     ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ และการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนในชุมชน จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมสุขภาพการลด ละ เลิก บุหรี่ ตามวิถีเจ๊ะบิลัง
ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕63 ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายกลุ่มแกนนำต่างๆ ได้แก่ ท้องถิ่น อสม เยาวชน ผู้นำศาสนา ครู และสถานประกอบการ เพื่อสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบ และสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ในชุมชน ส่งผลให้ คนในชุมชนมีการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ลดภาวะเสี่ยงและผลกระทบจากควันบุหรี่และ มีสุขภาพที่ดีต่อไป
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้เครือข่ายมีความรู้และทักษะในการดำเนินการเฝ้าระวังและส่งเสริม การลด ละ เลิก บุหรี่ (2) 2.พัฒนาศักยภาพเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและส่งเสริมการ ลด ละ เลิก บุหรี่ (3) 3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 6 อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลพื้นฐานการสูบบุหรี่ในชุมชน (2) กิจกรรมที่ ๒.อบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

 

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ