กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรน้อยเรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L3356-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาด็กเล็กบ้านหนองปราง
วันที่อนุมัติ 25 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประทีป มณี
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.585,100.002place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“เด็กไม่กินผัก” เป็นปัญหาสากลที่พบได้ทั่วโลก แม้ผักจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ด้วยสี รูปร่าง กลิ่น และรสชาติ อาจทำให้เด็กบางคนไม่ชอบจนถึงขั้นเกลียดผักเลยก็มี ผักนับเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ เพราะมีใยอาหาร วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังพบว่าเด็กมีปัญหากับการกินผักด้วยหลากหลายสาเหตุ อาทิ     • ไม่ชอบรูปลักษณ์ กลิ่น สี และรสชาติขมเฝื่อน ๆ ของผัก     • ไม่ยอมกินผักเพราะเลียนแบบคนในครอบครัว     • โดนบังคับให้กินทั้งที่ยังไม่พร้อม จึงเกิดการต่อต้าน     • ชินกับอาหารอ่อน พอเจอผักที่เคี้ยวยากเลยไม่ชอบ ไม่อยากเคี้ยว เด็กแต่ละคนมีสาเหตุของการไม่กินผักแตกต่างกัน แต่เมื่อผู้ปกครองหรือครูหาสาเหตุพบแล้ว ควรรีบแก้ไขโดยปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการกินผักให้เด็ก เพื่อให้เขารู้ว่าผักไม่ได้มีแต่รสขมเฝื่อนและไม่น่ากินเสมอไป ซึ่งเทคนิคหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กกลับมากินผักได้ คือการทำเมนูผักให้ดูน่ากิน รสชาติหวานอร่อยไม่เหมือนผักนั่นเอง การสร้างแรงจูงใจในการกินผักโดยให้เด็กปลูกผักด้วยตนเอง
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรางมีนักเรียนจำนวน 45 คน จากการสังเกตการณ์รับประทานอาหารของเด็กพบว่ามีเด็กไม่กินผักเลยจำนวน 6 คน กินบ้างเล็กน้อย จำนวน 29 คน กินผักจำนวน 10 คน เพื่อสร้างแรงจูงใจเด็กที่ไม่กินผักเลยหันมากินผัก และเด็กที่กินผักเล็กน้อยมากินผักมากขึ้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรางจึงได้จัดทำโครงการเกษตรน้อยเรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง โดยให้เด็กปลูกผักด้วยตนเองคนละ 1 กระถางเพื่อสะดวกในการดูแลของเด็กเล็ก และนำผักที่ตนเองปลูกและผักหลากหลายชนิดมาทำเมนูผักให้ดูน่ากิน เด็กจะได้มีความภาคภูมิใจและมีแรงกระตุ้นในการกินผักเพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยรายใหม่ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

เด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรางทุกคนได้เรียนรู้ประโยชน์ของผัก

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานผัก

1.เด็กที่ไม่กินผักเลย(6คน)กินผักเพิ่มขึ้นร้อยละ50 2.เด็กที่กินผักบ้างเล็กน้อย(29คน)กินผักเพิ่มขึ้นร้อยละ50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 165 7,400.00 3 7,400.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมให้ความรู้ประโยชน์ของผักโดยใช้โมเดลผักหรือสื่ออื่นๆ 55 1,000.00 1,000.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวโดยปลูกในกระถาง 55 5,750.00 5,750.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมเชฟน้อย 55 650.00 650.00

เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาท่อมเพื่อพิจารณา - ครูผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ ประชุมร่วมกันวางแผนในการจัดกิจกรรมตลอดจนแนวทางการดำเนินงาน - ดำเนินโครงการ มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้       - กิจกรรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน เรื่อง ประโยชน์ของผัก       - กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว โดยการให้เด็กรับผิดชอบคนละ 1 กระถางเพื่อให้เด็กทุกคนได้เรียนรู้อย่างทั่วถึง เด็กจะได้รู้สึกภาคภูมิใจและจูงใจให้เด็กได้รับประทานผักที่ตัวเองปลูก       - กิจกรรมเชฟน้อย โดยนำผักที่เด็กๆปลูกและผักชนิดอื่นๆมาทำเมนูอาหารเช่น ผักทอดกรอบโดยให้เด็กเป็นผู้ช่วยในการทำอาหาร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ประโยชน์ของผัก 2 เด็กนักเรียนได้รับประทานผักที่ตัวเองปลูกและส่งเสริมให้เด็กรับประทานผักเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2563 09:53 น.