กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านอาหารร่วมใจปลอดโฟม ลดพลาสติก
รหัสโครงการ 63-L8287-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพา
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 13,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีรศักดิ์ เบญอะหลี
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 มิ.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 13,100.00
รวมงบประมาณ 13,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 68 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละร้านอาหารเข้าร่วมกิจกรรมปลอดโฟม ลดพลาสติก
50.00
2 ร้อยละร้านอาหารผ่านเกณฑ์ปลอดโฟม ลดพลาสติก
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีการรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ตั้งแต่ ปี 2557 กอปรกับจากข้อมูลรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 พบว่าในประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ตามสถิติมีคนตายจากโรคมะเร็งประมาณวันละ 160 คน ปีหนึ่งๆตรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 64,000 ราย ต่อปี และเสียชีวิตปีละประมาณ 30,000 ราย อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งในประเทศไทย ประมาณ 123.8 คน ต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้ คนไทยอาจได้รับความเสี่ยงจากสารก่อมะเร็งหลายปัจจัย หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งโดยเฉพาะจากภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารประเภทโฟมชนิด  โพลิสไตลีน(Polystyrene) โดยจากรายงานผลสำรวจของศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ : Thai Civil Rights and Investigative Journalism) ในปี 2556 คนไทยนิยมนำกล่องโฟม(Polystyrene) มาใช้เพื่อการบรรจุอาหาร วันละไม่น้อยกว่า 138 ล้านกล่อง หรือเฉลี่ย 2.3 กล่อง/คน/วัน กล่องโฟมรวมถึงกล่องพลาสติกกลุ่ม PS: Polystyrene ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและใช้ในวัตถุประสงค์แตกต่างกัน แต่เป็นภาชนะที่ไม่เหมาะกับการบรรจุอาหารขณะร้อนจัด มีไขมัน และสัมผัสอาหารเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้สารเคมี ได้แก่ สไตรีน (Styrene) เบนซีน (Benzene) ที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโฟมและจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง ปนเปื้อนสู่อาหารได้
กล่องโฟมรวมถึงกล่องพลาสติกกลุ่ม PS: Polystyrene จึงเป็นปัญหาสำคัญทั้งประเด็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการย่อยสลายที่ต้องใช้เวลายาวนาน ประเทศไทยได้กำหนดแผนการจัดการขยะแห่งชาติ ในช่วงปี พ.ศ.2562 – 2570 โดยกำหนดกรอบระยะเวลาในการเลิกใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ถุงหูหิ้วแบบบาง แก้วน้ำและหลอดพลาสติก แบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastic) ภายในปี พ.ศ 2565 ในขณะที่จังหวัดสงขลา ได้มีนโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด 12 วาระ โดยวาระที่ 1 ประเด็น 3 กำหนด “สงขลาร่วมใจใช้ถุงผ้า ปลอดกล่องโฟม ลดพลาสติก” ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2562 และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพา ได้ดำเนินการรณรงค์เสริมสร้าง “องค์กร/ชุมชนปลอดโฟม” มาตั้งแต่ปี 2558 – 2562 สามารถเสริมสร้างหน่วยงาน/องค์กร/ชุมชน ผ่านเกณฑ์ “ปลอดโฟม” ได้รวมถึง 86 แห่ง แต่อย่างไรก็ตามการขับเคลื่อนดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมไปถึงร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยพบว่าจากจำนวนร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหารทั้งหมด 217 ร้าน จำนวนร้านที่เลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร มีเพียง 53 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 24.42 อีกทั้งผู้ประกอบการส่วนใหญ่หันมาเลือกใช้ภาชนะประเภทพลาสติกแทน ซึ่งมีการใช้พลาสติกที่ไม่ถูกประเภท ยังส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม มีเพียงส่วนน้อยที่หันมาใช้ภาชนะที่ย่อยสลายง่าย เช่นกล่องกระดาษ หรือวัสดุจากธรรมชาติ ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทพาจึงได้จัดทำโครงการร้านอาหารร่วมใจปลอดโฟม ลดพลาสติกปี 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเชิญชวนให้ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารสมัครเข้าร่วมโครงการ

จำนวนร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมปลอดโฟม ลดพลาสติก ในการบรรจุอาหาร มากกว่าร้อยละ 50

50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้

จำนวนร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์ ปลอดโฟม ลดพลาสติก มากกว่าร้อยละ 25

25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 108 13,100.00 3 13,100.00
15 ก.ค. 63 กิจกรรม เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 68 7,600.00 7,600.00
19 ส.ค. 63 กิจกรรม จัดพิธี MOU 20 500.00 500.00
19 ส.ค. 63 มอบประกาศเกียรติคุณ 20 5,000.00 5,000.00
  1. เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เครือข่ายสุขภาพอำเภอเทพา ร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ แจกแผ่นพับความรู้ ,ประกาศอำเภอเทพา เรื่อง ขอความร่วมมือใช้บรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัย พร้อมทั้งเชิญชวนให้ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารสมัครเข้าร่วมโครงการ
    2.จัดพิธี MOU โดยผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เข้าร่วมทำพิธี MOU เพื่อทำข้อตกลง ร่วมมาตรการร้านอาหารปลอดโฟม ปลอดพลาสติก ,และร่วมอบรมให้ความรู้การเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟม ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
    3.ลงพื้นที่ประเมินการดำเนินงานของร้านอาหารเข้าร่วมโครงการ 4.มอบประกาศเกียรติคุณแก่ร้านอาหารที่ผ่านการประเมินร้านอาหารปลอดโฟม ลดพลาสติก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์ปลอดโฟม ลดพลาสติก เป็นแบบอย่างในการเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ ร้านและแผงลอยจำหน่ายอาหารอื่นๆ
2.ผู้บริโภคตระหนักถึงการเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3.ขยะโฟมในอำเภอเทพามีปริมาณลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2563 10:11 น.