กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน
รหัสโครงการ 63-L5273-3-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกขี้เหล็ก
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพรรณทิพา คชฤทธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ส.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 18,050.00
รวมงบประมาณ 18,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-5 ปี ปัญหาเด็กอ้วน และปัญหาภาวะทุพโภชนาการ อันเกิดมาจากปัญหาพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมกับวัย ขาดการออกกำลังกาย และการกินผักผลไม้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาภาวะโภชนาการ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรยน และพบว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกขี้เหล็ก มีเด็กจำนวน 120 คน การเจริญเติบโต พบว่ามี น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ จำนวน 2 คน น้ำหลักค่อนข้างมาก จำนวน 4 คน น้ำหนักตามเกณฑ์จำนวน 100 คน น้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 22 คน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 12 คน โดยส่วนสูงตามเกณฑ์สำหรับการเจริญเติบโต สูงกว่าเกณฑ์ จำนวน 1 คน ค่อนข้างสูง จำนวน 2 คน สูงตามเกณฑ์ จำนวน 109 คน ค่อนข้างเตี้ย จำนวน 14 คน และเตี้ย จำนวน 14 คน จากสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ส่งเสริมภาวะโภชนาการและแก้ไขปัยหาภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกขี้เหล็ก หมู่ที่ 1 ตำบลฉลุง ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง โดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกขี้เหล็ก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโภชนาการ จึงจัดให้มีการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กให้สมวัย โดยจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-5 ปี ให้มีภาวะโภชนาการสมส่วนตามเกณฑ์

เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 2-5 ปี ในศูนย์ฯ ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ร้อยละ 100

0.00
2 ข้อ 2.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการสมวัย ในเด็กก่อนวัยเรียน แก่ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหาร

ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกับเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 240 18,050.00 4 18,050.00
1 ก.ค. 63 - 30 ต.ค. 63 1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวัง และส่งเสริมภาวะโภชนาการ 120 18,050.00 18,050.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 2.กิจกรรมตรวจวัดความเจริญเติบโต 120 0.00 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 3.จัดทำทะเบียนเด็ก 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 4.ติดตามเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ 0 0.00 0.00

1.ตรวจวัดความเจริญเติบโตโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผลภาวะโภชนาการการเจริญเติบโตตามสมุดบันทึก 2.จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกิน หรือ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อย หรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ 3.ให้ความรู้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 4 ศูนย์ฯ เกี่ยวกับภาวะโภชนาการสมวัย 4.ติดตามเด็กรายที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน การออกกำลังกาย และพฤติกรรมการกิน 5.ติดตามเด็กรายที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3 เดือน เพื่อประเมินผลให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ สุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ เป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่าต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 2-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุม 2.ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก ก่อนวัยเรียน อายุ 2-5 ปี ลดลง 3.ผู้ปกครองเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร มีความรู้ในการดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ด้านภาวะโภชนาการ และการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้สมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2563 11:50 น.