กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลท่ากำชำ
รหัสโครงการ 63-L3066-02-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ม.4
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 42,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมูนี เจะมิง
พี่เลี้ยงโครงการ นายนาเซร์ หวังจิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ย. 2563 9 ก.ย. 2563 42,000.00
รวมงบประมาณ 42,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1057 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมโดยมีสาเหตุจากการกินอาหารที่มันจัดเค็มจัดหวานจัด รวมทั้งกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราการออกกกำลังกายที่ไม่เพียงพอทำให้ จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งพบได้ทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ คือโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 5 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 860.53 ส่วนโรคเบาหวานพบประมาณ 3 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 675.74 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551)   จากสถานการณ์โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตันหยงเปาว์ มีการป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่ไม่เหมาะสมซึ่งมีความเสี่ยงสูง จึงไม่สามารถลดปัญหาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อได้ รูปแบบการให้บริการแบบตั้งรับที่สถานบริการไม่สามารถที่จะตอบโจทย์ในการส่งเสริมป้องกันโรคของประชาชนได้ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยง จึงเป็นการประเมินภาวะเสี่ยงของสุขภาพประชาชนได้ในระดับหนึ่ง   ซึ่งจากสถานการณ์ข้างต้น อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านตันหยงเปาว์เห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตำบลท่ากำชำขึ้น เพื่อประชาชนในพื้นที่เขตรับผิดชอบ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่เป็นการพัฒนาระบบสุขภาพของประชาชนในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และได้ตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และได้ตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น

90.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่รวมถึงลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยรายเก่า

อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่เท่ากับศูนย์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1107 42,000.00 2 42,000.00
2 - 4 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรม 50 25,500.00 25,500.00
7 - 9 ก.ย. 63 กิจกรรมตรวจคัดกรอง 1,057 16,500.00 16,500.00
  1. จัดประชุมชี้แจงคณะทำงานที่รับผิดชอบในการจัดทำโครงการ
  2. จัดทำแผนงานโครงการ เสนอ คณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. ประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการ/วางแผนการทำงานร่วมกัน
  5. ดำเนินโครงการตามแผน
  6. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว สามารถพึ่งพาตนเอง
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถเป็นแบบอย่างและให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและประชาชนในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2563 10:41 น.